PBRU LOGO

นิทรรศการออนไลน์

14 กุมภาพันธ์
วันสถาปนาราชภัฏ

รายละเอียดนิทรรศการ


นิทรรศการ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”


เป็นนิทรรศการที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อชาวราชภัฏ เพื่อสืบสาน รักษาและต่อยอด ตามพระราชปณิธานของในหลวง รัชกาลที่ 10 เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวราชภัฏ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี


 จัดทำโดย กลุ่มงานสื่อสารองค์กร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ

Scroll Down

K

I

N

G

 

R

A

M

A

 

9

พระราชดำรัส รัชกาลที่ 9

“ การทำงานใด ๆ ไม่ว่าเล็ก ใหญ่ ง่าย ยาก ถ้าย่อหย่อนจากความเพียรแล้ว ยากที่จะให้สำเร็จเรียบร้อยทันเวลา ได้ และเมื่อใดพลังของความเพียรนี้ เกิดขึ้น เมื่อนั้นการงานทั้งหลายก็สำเร็จได้โดย ง่ายดายและรวดเร็ว “


3cf82851f00c3fe64805fcead9aefa05 นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ
01
904px King Rama X official crop นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี
ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

K

I

N

G

 

R

A

M

A

 

1

0

            ยินดีที่ได้มีการรับรางวัลอย่างต่อเนื่อง แล้วที่สำคัญคือขอบใจที่ได้ต้อนรับได้ให้กำลังใจและสนับสนุนมาตลอด. การที่ได้พระราชทานปริญญาให้ราชภัฏมา ต่อเนื่องเป็นเวลา 30 ปีกว่านี้ ก็ทำให้รู้สึกมีความสุข และมีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหลายอย่างมาก เพราะว่าก็หลายปีแล้ว แล้วก็ไปทุกครั้งก็มีความสุข. ก็อยากจะให้ทุกคนมีกำลังใจ ที่จะทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏของเราเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและท้องถิ่นจริง ๆ จัง ๆ ในเรื่องการดำรงชีวิตในเรื่องความรู้ทั่วไป แล้วก็ข้อสำคัญคือผลิตคนดี ผลิตคนดีที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์แล้วก็สังคม. คิดว่าสถาบันนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนี้จะเป็นประโยชน์ และจะเป็นกลไกที่พัฒนาประเทศได้อย่างยิ่ง. ถ้าเผื่อตั้งใจแล้วก็ร่วมกันคุยกันมาก ๆ จะเป็นสถาบันหลักที่พัฒนาประเทศกับประชาชนได้อย่างมาก

ก็ขอให้กำลังใจ แล้วก็วันหลังมีโอกาสคุยกันก็จะคุยกันให้ฟัง.

พระราชดำรัส ในโอกาสที่ที่ปรึกษาที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏและประธานคณะกรรมการดำเนินงานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนำคณะกรรมการดำเนินงานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร และอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ เข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายเงิน โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยกับสมทบกองทุนพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ และสมบททุนมูลนิธิคุรุปถัมภ์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต วันอังคาร ที่ 9 พฤษภาคม 2560 

ประวัติวันราชภัฏ

14 กุมภาพันธ์ “วันราชภัฏ” พระราชทานกำเนิด “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน

ความเป็นมา วันราชภัฏ

ทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันราชภัฏ” สืบเนื่องจาก วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สถาบันราชภัฏ แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจสูงสุด มาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ

ซึ่งชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สมควรจะเทิดพระมหากรุณาธิคุณนี้ไว้เหนือเกล้าและจงรักภักดีด้วยการตั้งปณิธานที่จะประพฤติ และปฏิบัติหน้าที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการพัฒนาประเทศและบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พี่น้อง ประชาชนชาวไทย ดังนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถือว่าเป็นวันราชภัฏ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัย และถือเป็นการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏด้วยเช่นกัน

“ราชภัฏ” เป็นคำที่มิมีผู้ใดคาดคิดมาก่อนว่าจะเป็นนามพระราชทาน เป็นคำศัพท์ที่ทรงใช้พระบรมราชวินิจฉัยและทรงสรรหาด้วยพระองค์เอง แสดงให้เห็นว่าทรงสนพระราชหฤทัยในกิจการของวิทยาลัยครูอย่างแท้จริง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นหาที่สุดมิได้ “ราชภัฏ” เป็นศัพท์โบราณ มีความหมายตามพจนานุกรมว่า ข้าราชการ โดยนัยหมายถึงปราชญ์ของพระราชา เพราะผู้ที่จะสามารถรับใช้เบื้องพระยุคลบาท จะต้องเป็นผู้รอบรู้ มีสติปัญญาเฉียบแหลม นับได้ว่า “ราชภัฏ” นี้เป็นคำสูงส่ง เป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สมควรจะเทิดไว้เหนือเกล้าและจงรักภักดีด้วยการตั้งปณิธานที่จะประพฤติ และปฏิบัติหน้าที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท สืบไป

สีของตราประจำมหาวิทยาลัย

logo rajabhat นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ
blue นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ
สีน้ำเงิน

แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”

green นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ
สีเขียว

แทนค่าแหล่งที่ตั้งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม

gold นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ
สีทอง

แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา

orange นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ
สีส้ม

แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

white นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ
สีขาว

แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สีของตราประจำมหาวิทยาลัย มี 5 สี โดยมีความหมาย ดังนี้

สีน้ำเงิน

██      สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”

สีเขียว

██     สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม

สีทอง

██      สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา

สีส้ม

██     สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

สีส้ม

██    สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ปี พ.ศ. 2470

ย้ายมาอยู่ในเขตพระราชวัง พระรามราชนิเวศน์(วังบ้านปืน) ตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และรับนักศึกษาเข้าฝึกหัดตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน

ปี พ.ศ. 2476

ยกฐานะขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูลและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดเพชรบุรีในปีต่อมา

ปี พ.ศ. 2481

ย้ายสถานที่ไปตั้งบริเวณวัดเกตุตำ บลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ปี พ.ศ. 2485

เปิดสอนนักเรียนฝึกหัดครูประชาบาลและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูลเพชรบุรี

ปี พ.ศ. 2491

ยกเลิกหลักสูตรครูประชาบาล และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรี

ปี พ.ศ. 2506

ย้ายมาตั้งอยู่ที่ตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีบนเนื้อที่ 200 ไร่เศษ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2512

เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง และยกฐานะเป็น วิทยาลัยครูเพชรบุรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม

ปี พ.ศ. 2519

ยกฐานะขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูพ.ศ. 2518

ปี พ.ศ. 2535

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์

ปี พ.ศ. 2538

ยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏเพชรบุรีตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538

ปี พ.ศ. 2547

เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาหลักสูตรและการสอน สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา สาขา บริหารธุรกิจ และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์

ปี พ.ศ. 2548

เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาหลักสูตรและการสอน สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา สาขา บริหารธุรกิจ และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์

ปี พ.ศ. 2550

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ปริญญาโท 13 สาขาวิชา และปริญญาเอก 3 สาขาวิชา




ปี พ.ศ. 2551

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา โดยมีโครงการความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัย ชนชาติกวางสี วิทยาลัยภาษาต่างประเทศตงฟาง วิทยาลัยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศกวางสี และมหาวิทยาลัยชน ชาติยูนนาน โดยนักศึกษาจากสถาบันดังกล่าวมาเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 1 ปี) และ หลักสูตรปริญญาตรี วิชาภาษาไทย (2 ปี)

ปี พ.ศ. 2552

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา โดยมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยชนชาติกวางสี วิทยาลัยภาษาต่างประเทศตงฟาง วิทยาลัย ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศกวางสี และมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนานในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาภาษาไทย (หลักสูตร 1 ปี) และหลักสูตรปริญญาตรี วิชาภาษาไทย (2 ปี)










ปี พ.ศ. 2553

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 42 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา มีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับ Xiangsihu College of Guangxi University for Nationalities, Yunnan Minzu University, Guangxi University of Foreign Languages, Southwest Forestry University และ Qujing Normal University โดยนักศึกษาจีนมาศึกษาวิชาภาษาไทยหลักสูตรประกาศนียบัตร 1 ปี (3+1) และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีส่งนักศึกษาไทยสาขาวิชาภาษาจีนไปเรียนวิชาภาษาจีน หลักสูตร 1 ปี ที่มหาวิทยาลัย ดังกล่าว ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการโรงแรม กับมหาวิทยาลัยตามความร่วมมือในประเทศสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) ได้แก่ National Pingtung University of Science and Technology, Chung Chuo University of Science and Technology, Transworld University, Shih Chien University และ Dayeh University เริ่มปีการศึกษา 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยนักศึกษาไทยไปฝึก ประสบการณ์วิชาชีพที่ประเทศไต้หวันเป็นเวลาคราวละ 2 เดือน และนักศึกษาไต้หวันเดินทางมาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพที่สถานประกอบการโรงแรมพื้นที่ ชะอํา-หัวหิน เป็นเวลา 2-6 เดือน จนถึงปัจจุบัน และในปีนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้จัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดการศึกษาใน ระดับมัธยมศึกษาต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปี พ.ศ. 2554

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 52 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา

ปี พ.ศ. 2555

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 49 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา ป.บัณฑิต 1 สาขาวิชา

ปี พ.ศ. 2556

มีหลักสูตรที่เปิดระดับปริญญาตรี 45 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 6 หลักสูตร ระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร รวมทั้งหมด 52 หลักสูตร และเป็นหลักสูตรที่มีวิชาชีพรับรอง ได้แก่ คุรุสภา 13 หลักสูตร สภาวิศวกร 2 หลักสูตร เนติบัณฑิตยสภา 1 หลักสูตร สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย 1 หลักสูตร สภาวิชาชีพบัญชี 1 หลักสูตร และ ดําเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ หลักสูตรทุกหลักสูตร



ปี พ.ศ. 2557

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 49 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 13 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา ป.บัณฑิต 1 สาขาวิชา และในปีนี้สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ โดยเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตร์รุ่นแรกในปี การศึกษา 2557 จํานวน 70 คน มีโครงการความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 20 มหาวิทยาลัย เน้นมหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน 7 แห่ง ไต้หวัน 4 แห่ง กัมพูชา 1 แห่ง สปป.ลาว 2 แห่ง เวียดนาม 2 แห่ง มาเลเซีย 2 แห่ง อินโดนีเซีย 1 แห่ง และบรูไน 1 แห่ง โดยมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร ทั้งด้านการ เรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การวิจัยศิลปวัฒนธรรม วัสดุทางวิทยาศาสตร์และสื่อสิ่งพิมพ์

ปี พ.ศ. 2558

ในปีการศึกษา 2558 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 51 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 6 หลักสูตร ระดับ ปริญญาเอก 1 หลักสูตร และหลักสูตร ป.วิชาชีพครู 1 หลักสูตร

ปี พ.ศ. 2559

ในปีการศึกษา 2559 เปิดสอนระดับปริญญาตรี 45 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 6 หลักสูตร ระดับ ปริญญาเอก 1 หลักสูตร และหลักสูตร ป.วิชาชีพครู 1 หลักสูตร

ปัจจุบัน ( พ.ศ. 2564 )

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 8 คณะ 43 หลักสูตร ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ ระดับปริญญาโท 6 หลักสูตร หลักสูตร ป.วิชาชีพครู 1 หลักสูตร

ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก

ตำแหน่ง องคมนตรี

ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน

ฯพณฯ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์

ตำแหน่ง องคมนตรี

ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พ.ศ. 2548 - 2562

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

ดำรงตำแหน่งนายกสภา สถาบันราชภัฏเพชรบุรี พ.ศ. 2538 – 2548

ทำเนียบอธิการบดี

พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน

23 1 scaled 1 นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม

ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 

 

พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน

พ.ศ. 2552 – 2560

22 นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ กลิ่นงาม

ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 

 

พ.ศ. 2552 – 2560

พ.ศ. 2546 – 2551

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกศักดิ์ บุตรลับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกศักดิ์ บุตรลับ

ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี
สถาบันราชภัฏเพชรบุรี -มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

พ.ศ. 2546 – 2551

พ.ศ. 2536 – 2546

ดร.ปัญญา การพานิช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัญญา การพานิช

ดำรงตำแหน่ง อธิการ วิทยาลัยครูเพชรบุรี พ.ศ. 2536
อธิการบดี พ.ศ. 2536 – 2546

 

พ.ศ. 2536 – 2546

พ.ศ. 2532 - 2536

รองศาสตราจารย์ สันต์ ธรรมบำรุง

รองศาสตราจารย์ สันต์ ธรรมบำรุง

ดำรงตำแหน่ง อธิการ วิทยาลัยครูเพชรบุรี  

พ.ศ. 2532 - 2536

พ.ศ. 2529 – 2532

นายนิทัศน์ เพียกขุนทด

นายนิทัศน์ เพียกขุนทด

ดำรงตำแหน่ง อธิการ วิทยาลัยครูเพชรบุรี  

พ.ศ. 2529 – 2532

พ.ศ. 2524 – 2529

รองศาสตราจารย์ ดร.วรชัย เยาวปาณี

รองศาสตราจารย์ ดร.วรชัย เยาวปาณี

ดำรงตำแหน่ง อธิการ วิทยาลัยครูเพชรบุรี  

พ.ศ. 2524 – 2529

พ.ศ. 2518 – 2524

นายเสยย์ เกิดเจริญ

นายเสยย์ เกิดเจริญ

ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูเพชรบุรี
พ.ศ. 2518 – 2519
อธิการบดี พ.ศ. 2519 – 2524

พ.ศ. 2518 – 2524

พ.ศ. 2516 – 2518

นายสกล นิลวรรณ

นายสกล นิลวรรณ

ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูเพชรบุรี
พ.ศ. 2516 – 2518

พ.ศ. 2515 – 2516

รองศาสตราจารย์ ประกอบ ระกิตติ

รองศาสตราจารย์ ประกอบ ระกิตติ

ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ วิทยาลัยครูเพชรบุรี
พ.ศ. 2515 – 2516

พ.ศ. 2512 – 2515

นายวิเชียร แสนโสภณ

นายวิเชียร แสนโสภณ

ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ วิทยาลัยครูเพชรบุรี
พ.ศ. 2512 – 2515

พ.ศ. 2505 – 2512

นายพะนอม แก้วกำเนิด

นายพะนอม แก้วกำเนิด

ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรี
พ.ศ. 2505 – 2512

พ.ศ. 2503 – 2505

นายพร้อม ปริงทอง

นายพร้อม ปริงทอง

ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรี
พ.ศ. 2503 – 2505

พ.ศ. 2503

นายเติม จันทชุม

นายเติม จันทชุม

ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรี
พ.ศ. 2503

พ.ศ. 2493 – 2503

นายน้อม บุญดิเรก

นายน้อม บุญดิเรก

ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรี
พ.ศ. 2493 – 2503

พ.ศ. 2486 – 2493

นายไปล่ สมิตเมฆ

นายไปล่ สมิตเมฆ

ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรี
พ.ศ. 2486 – 2493

พ.ศ. 2484 – 2486

นายรัศมี ศรีเสน่ห์

นายรัศมี ศรีเสน่ห์

ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรี
พ.ศ. 2484 – 2486

พ.ศ. 2484

นายโกวิท ต่อวงษ์

นายโกวิท ต่อวงษ์

ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. 2484

พ.ศ. 2483 – 2484

นายบุญช่วย (เชวง) เลี้ยงสกุล

นายบุญช่วย (เชวง) เลี้ยงสกุล

ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. 2483 – 2484

พ.ศ. 2478 – 2483

นายไกรสีห์ (เซ่งฮวด) สุขสมัย

นายไกรสีห์ (เซ่งฮวด) สุขสมัย

ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. 2478 – 2483

พ.ศ. 2476 – 2478

นายแช สามชัย

นายแช สามชัย

ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูมูล
และแผนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด
พ.ศ. 2476 – 2478

พ.ศ. 2475 – 2476

ขุนจีรศิริศึกษากร (เฮง จีรศิริ)

ขุนจีรศิริศึกษากร (เฮง จีรศิริ)

ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรมณฑล แผนกกสิกรรม
พ.ศ. 2475 – 2476

พ.ศ.2470 – 2475

นายฮู้ ภิงคานนท์

นายฮู้ ภิงคานนท์

ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรมณฑล แผนกกสิกรรม
พ.ศ.2470 – 2475

ผลงานนักศึกษา | STUDENT WORKS

เรียงความ

การประกวดเขียนเรียงความ
"คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน"

เรียงความ

การประกวดเขียนเรียงความ
"คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน"
ดูผลงาน

ภาพถ่าย

การประกวดภาพถ่าย “PBRU Landmark 2021”

ภาพถ่าย

การประกวดภาพถ่าย “PBRU Landmark 2021”
ดูผลงาน

คลิปวีดีโอ

การประกวดคลิปวีดิโอ “จิตอาสา”

คลิปวีดีโอ

การประกวดคลิปวีดิโอ “จิตอาสา”
ดูผลงาน

การประกวดเขียนเรียงความ

" คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน "
  • รางวัลชนะเลิศ
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
  • รางวัลชมเชย
  • รางวัลชมเชย

รางวัลชนะเลิศ


เรียงความเรื่อง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

          "...การศึกษาขั้นมหาวิทยาลัย คือ การศึกษาค้นคว้า เพื่อสร้างเสริมและสะสมความรู้ ความชัดเจนในด้านวิชาการอย่างสูง และด้านการใช้ความคิดวิจารณญาณ ตามเหตุผลหลักวิชาความถูกต้อง ต้องมีปัญญา ซึ่งได้ผ่านการศึกษาระดับนี้  จัดว่าเป็นบุคคลที่ทางคุณค่า ผู้ที่จะเป็นกำลังสร้างสรรค์ ความเจริญมั่นคงทุกด้าน ของประเทศอย่างสำคัญต่อไป เหตุนี้บัณฑิตทั้งหลายจึงมีหน้าที่รับผิดชอบเกิดขึ้น ที่จะต้องนำความรู้ความคิด และความสามารถชัดเจนของตนออกมาปฎิบัติงาน เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมและบ้านเมือง..."  ความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาท ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากเนื้อหาที่ปรากฏในพระบรมราโชวาทข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าผู้ที่จะพัฒนาชาติบ้านเมืองตลอดจนประเทศชาติให้มีความเจริญและสุขสงบผู้นั้นก็คือบัณฑิต

          เมื่อกล่าวถึงประโยค “คนของพระราชา ค่าของแผ่นดิน” ซึ่งเป็นประโยคที่เปรียบดั่งสายโลหิตที่คอยหล่อเลี้ยงความเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ เป็นประโยคที่ปลูกฝังเหล่าบัณฑิตว่าการเป็นบัณฑิตในมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้น ตัวของบัณฑิตจะต้องมีความระลึกและตระหนักถึงการประพฤติปฏิบัติของตน ให้อยู่ภายใต้กฎระเบียบวินัย เหตุนี้ก็ด้วยเพื่อการที่จะให้บัณฑิตเติบโตไปเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ บ้านเมือง อีกประโยคที่ว่า “ข้าของแผ่นดิน” ก็มีนัยสำคัญ คือ “ผู้รับใช้แผ่นดินเกิด” กล่าวคือบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันมหาวิทยาลัยราชภัฏ จะต้องนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา กลับไปสานต่อและพัฒนาซึ่งท้องถิ่นของตนให้มีความเจริญงอกงาม เปรียบเสมือนสายน้ำที่คอยไหลรินหล่อเลี้ยงต้นกล้าให้มีความแข็งแรงและสง่างาม ท้ายสุดเมื่อแผ่นดินประกอบไปด้วยน้ำและต้นกล้าที่ต่างเติบโตจนแข็งแรงและสง่างาม แผ่นดินก็จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยความสุขสโมสร ทั้งนี้แล้ว การพัฒนาชาติให้มีความเจริญงอกงามและมั่นคงแล้วนั้น หาใช้หน้าที่ของผู้ที่เป็นบัณฑิตเพียงผู้เดียว แต่จะต้องเป็นความร่วมมือซึ่งกันและกันด้วยกำลังของผู้คนภายในชาติ ที่คอยผสานจนเป็นเกลียวแน่น จึงจะสามารถพัฒนาชาติให้มีความเจริญมั่นคงอย่างยั่งยืนต่อไป

          ดังนั้นแล้ว “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” จึงเป็นประโยคที่บ่งบอกให้ผู้คนต่างเห็นถึงคุณค่าและความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ที่ตนพึงมี ว่าจะต้องประพฤติปฏิบัติตนและพลีซึ่งประโยชน์ส่วนตนต่อแผ่นดิน และเห็นซึ่งคุณค่าที่จะบังเกิดปรากฏต่อประเทศชาติเป็นสำคัญ หากทุกคนรู้และตระหนักถึงหน้าที่และบทบาทแล้วนั้น การที่จะพัฒนาประเทศ พัฒนาชาติให้ก้าวสู่ความเจริญและมั่นคงในอนาคต ก็จะสำเร็จลุล่วงได้ตามจุดประสงค์ และอุดมการณ์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายเสฎฐวุฒิ พลวิชัย สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
close up hand holding pen write นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1


เรียงความเรื่อง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

        " คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน ” นิยามความหมายของ  " ราชภัฏ " เหล่านักศึกษาที่เล่าเรียนในสถาบันราชภัฏหรือชาวราชภัฏคงซาบซึ้งและเข้าใจนิยามของวลีนี้เป็นอย่างดี อันเนื่องมาจากสถาบันราชภัฏได้รับพระราชทานนาม"ราชภัฏ" จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เป็นชื่อประจำสถาบัน พร้อมทั้งพระราชทานพระราชลัญจกรเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยนับเป็นมหาสิริมงคลอันควรที่ชาวราชภัฏทั้งมวลภาคภูมิใจเสมอมา

         "คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” หากตีความให้ถ่องแท้และเข้าใจได้มากยิ่งขึ้นเปรียบเสมือนประดุจดั่ง “การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ที่ต้องถวายงานอย่างสุดความสามารถ สุดชีวิต สุดจิตสุดใจ” การเป็นคนของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ย่อมเป็นข้าของแผ่นดินอีกด้วย เนื่องจากว่าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร หมาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้เป็นมิ่งขวัญของพวกเราชาวราชภัฏทรงเป็นแบบอย่างการทรงงานเพื่อบ้านเมือง และแผ่นดินอย่างมิเคยทรงหยุดพักแม้เพียงน้อยนิด แม้ยามที่ทรงประชวรก็ไม่เคยหยุดทรงงาน เพื่อความสุขของตัวปวงชนชาวสยาม พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามสถาบันราชภัฏแก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อันเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม นำมาซึ่งความภาคภูมิใจสูงสุดมาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ แม้ว่าพระองค์จะเสด็จสวรรคตสู่สวรรคาลัยไปแล้ว แต่พระองค์ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณประเสริฐ พระองค์พระราชทานสิ่งดีงามสถิตไว้ มาสู่การปฏิบัติใช้ในชีวิต อีกทั้งทรงคุณูปการต่อการพัฒนาประเทศไทย สืบมาถึงปัจจุบัน ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ชาวราชภัฏได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการทำงานเพื่อสนองแนวทางพระราชดำริสืบต่อพระราชปณิธานและสืบสานพระราชประสงค์ เหมาะสมกับการเป็น "ข้ารองพระยุคลบาทยิ่ง" อุทิศตนทำงานควบคู่ไปกับการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะขณะนี้ที่มีการแพร่ระบาดของ Coronavirus disease ความสามัคคีของชาวราชภัฏตลอดจนปวงชนชาวไทยทุกคนมีความสำคัญอย่างมากเพื่อร่วมด้วยช่วยกันฟันฝ่าวิกฤตการณ์ไปด้วยกัน

         ในทุกวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันราชภัฏ ประหนึ่งเครื่องเตือนความทรงจำของพวกเราชาวราชภัฏคือ "คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน"  ระลึกถึงพระกรุณาธิคุณและจงรักภักดีด้วยการตั้งปณิธาน ประพฤติ ปฏิบัติหน้าที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทด้วยภารกิจสถาบันอุดมการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังของแผ่นดินฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน

นางสาวศศิธร ตรีพิมล สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
close up hand holding pen write นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2


เรียงความเรื่อง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

     “ คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน ” ตีความเป็นความหมายที่ลึกซึ้งกินใจได้ว่า  “ การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องถวายงานสุดความสามารถ สุดชีวิต และ สุดจิตสุดใจ ”

        ราชภัฏ คือ คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน เปรียบเสมือนว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏในทั่วประเทศ นั้นมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนาม สถาบันราชภัฏ แก่มหาวิทยาลัยครูทั่วประเทศ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทาน “ตราประจำพระองค์” หรือ “พระราชลัญจกร” แก่สถาบันราชภัฏทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นตราประจำสถาบัน จึงได้มาเป็นตรามหาวิทยาลัยราชภัฏที่ใช้กันมาตราบทุกวันนี้ เป็นเครื่องเตือนใจว่า “ชาวราชภัฏ คือคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”  มีหน้าที่อุทิศตนเพื่อการทำงาน คำนึงถึงผลประโยชน์ของแผ่นดิน ชาติและบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง ดังที่พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง การทำงานเพื่อบ้านเมือง และแผ่นดินอย่างที่ไม่เคยทรงหยุดพักแม้เพียงนิด แม้ยามที่ทรงประชวรก็ไม่เคยหยุดทรงงาน เพื่อความสุขของปวงชนชาวสยามของพระองค์

        ทุกคนจึงต้องมีจิตสำนึกที่จะอุทิศตน ทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีและเทิดทูน จะกระทำสิ่งใดต้องคำนึงถึงประชาชนเป็นที่ตั้ง รวมทั้งปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เปรียบเสมือนได้กระทำเพื่อถวายพระองค์

        การอยู่ภายใต้นามของราชภัฏ ถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของชาวราชภัฏที่ได้รับพระกรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากได้ยึดพระองค์เป็นแบบอย่างแล้ว พระองค์ยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ชาวราชภัฏได้มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เหมาะสมกับคำว่า “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

นางสาวชิดชนก เพชรวิเชียร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
close up hand holding pen write นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ

รางวัลชมเชย

เรียงความเรื่อง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

           คำว่า “ราชภัฏ” หมายถึง “คนของพระราชา  ข้าของแผ่นดิน” แฝงไปด้วยความหมาย นัยยะที่สำคัญ และลึกซึ้งมาก ซึ่งทุกวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ของทุกปีนั้น เด็กราชภัฏล้วนทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันแห่งการก่อเกิด “สถาบันราชภัฏ”

          หากจะขอกล่าวความเป็นของนาม ราชภัฏ ทุกคนคงทราบว่าเป็นวิทยาลัยครู เป็นเฉพาะทาง จึงอยากให้มีการจัดการศึกษาให้กว้างขึ้น จึงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานนามใหม่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในรัชกาลที่ ๙ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามใหม่ทุกแห่งว่า “สถาบันราชภัฏ” ซึ่งชาวราชภัฏในฐานะสถาบันอุดมศึกษา สมควรเทิดพระมหากรุณาธิคุณนี้ไว้เหนือเกล้า จงรักภักดี ประพฤติตน และปฏิบัติหน้าที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท  ที่สำคัญยังเป็นสถาบันที่พัฒนาประชาชนทุกหมู่เหล่า ให้ได้มีโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้าน  ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกสถานที่รวมถึงชุมชน สังคมพื้นที่ทุรกันดารที่หน่วยงานยังเข้าไม่ถึง ซึ่งส่วนใหญ่คงทราบดีว่าเด็กราชภัฏส่วนใหญ่มักมีฐานะยากจนซึ่งเด็กเหล่านี้เปรียบเสมือนต้นไม้ที่เป็นกล้าเล็ก ๆ  รอให้คนมารถน้ำพรวนดิน  เพื่อรอให้กล้าเหล่านี้ได้เติบโตไปเป็นต้นไม้ที่สวยงาม เปรียบง่ายคือ เด็กเหล่านี้เป็นกล้าที่ดีที่จะนำไปพัฒนาพื้นที่  ที่อยู่อาศัยของเด็กเหล่านี้ให้เป็นที่สวยงามที่ได้รับการพัฒนาและมีคุณค่า โดยการสร้างคุณค่าให้กับตนเอง จะเห็นว่าสถาบันราชภัฏมีการเปิดกว้าง และมีการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้น เพราะพระองค์ท่านทรงเล็งเห็นว่า ยังต้องมีอาชีพอีกมากมายนอกจากครู ที่จะต้องเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ บ้านเมือง ไม่ว่าจะเป็น พยาบาล นักเกษตร วิศวะกร นักพัฒนาท้องถิ่น และอีกมากมายหลายอาชีพที่สามารถพัฒนาชาติได้ ดังนั้น ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งที่จะต้องเป็นคนพัฒนา เพราะคำว่า “ราชภัฏ” คือคนของพระราชา หากต้องตีความอย่างลึกซึ้งกินใจและให้กว้างอีกออกไปนั้นก็คือ “การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องถวายงานอย่างสุดความสามารถ สุดชีวิต และสุดจิตใจ” ซึ่งการเป็นคนของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทนั้นย่อมเป็นข้าของแผ่นดินอีกด้วย

         ดังนั้น พวกเราเลือดราชภัฏจะถือโอกาสในการศึกษาเล่าเรียน ในการทำงานเพื่อสนองแนวทางพระราชดำริสืบต่อพระราชปณิธานและสืบสานพระราชประสงค์ให้เหมาะกับการเป็น “ข้ารองพระยุคลบาทยิ่ง” และอยากให้ชาวราชภัฏสำนึกเสมอว่า “มีหน้าที่อุทิศตนทำงานทุกอย่างเพื่อแผ่นดิน”

ชื่อนางสาวจันทร์จิรา นวลดี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ
close up hand holding pen write นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ

รางวัลชมเชย


เรียงความเรื่อง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

       ในทุกวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ของทุกปีนั้น คือวันสถาปนา สถาบันราชภัฏซึ่งเดิม ชื่อวิทยาลัยวิชาชีพครู ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในรัชกาลที่ ๙ ได้ทรงพระราชทานนามใหม่ ให้แก่วิทยาลัยครูทั่วทุกสถาบัน

        ซึ่งความภาคภูมิใจนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเกียรติยศสูงสุดแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นอย่างยิ่ง ในคำว่า คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน นั้นมีความหมายตรงตัวที่ทุกคนล้วนทราบกันดี ว่าคนของพระราชา คือ บุคคลที่ถวายงานใต้ฝ่าละอองธุลีฝ่าบาทอย่างเต็มความสามารถและสุดกำลัง ซึ่งพระองค์ท่านเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา อยากให้ทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อที่จบออกไปจะได้ไปพัฒนาพื้นที่ชุมชน พัฒนาบุคคลให้ดีขึ้น เพราะเราคือคนของแผ่นดิน คนที่เป็นแบบอย่าง ทำคุณประโยชน์ให้แผ่นดิน เพราะยังมีพื้นที่อีกมากมายที่ยังรอการพัฒนา ที่แห่งนี้ไม่เพียงแต่เป็นสถาบันการศึกษา แต่เป็นครอบครัวใหญ่ที่ให้ความรู้และความอบอุ่น เพราะเราเป็นคนของแผ่นดิน บุคคลที่พัฒนาท้องถิ่นที่ถูกเสริมสร้างพลังปัญญา ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ ที่จะเชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยาเพื่อความเจริญก้าวหน้าและยังยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้สมดุลและยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไป พระองค์ท่านทรงงานเพื่อแผ่นดิน ทรงเข้าไปฟื้นฟูพื้นที่ทุกแห่ง ให้มีกิน มีใช้ และมีอาชีพ ทรงบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชนที่ยากไร้ จึงได้มีสถาบันราชภัฏเกิดขึ้นมา เพราะเหตุผลเหล่านี้ เพียงเพราะอยากให้คนมีอาชีพมีความรู้ ที่สำคัญคือมีอยู่มีกิน

        จะสรุปได้ว่า สถาบันราชภัฏคือสถาบันของแผ่นดิน สถาบันที่ก่อเกิดขึ้นมา เพื่อรับใช้ประชาชน มาพัฒนาท้องถิ่นให้ดีขึ้น โดยใช้ความรู้ของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาเข้าไปปรับปรุงดูแล และแก้ไขให้ดีขึ้น เพื่อให้คนรุ่นต่อไปมีอนาคตที่ดี ให้คนในพื้นที่มีกิน โดยอาศัยความรู้ กำลังกาย ของคนเหล่านี้เข้าไปพัฒนาพื้นที่กันดารให้มีความเจริญ ตามพระปณิธานของพระองค์ท่าน

นางสาวสิริวิมล จิตต์เอื้อ สาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
close up hand holding pen write นิทรรศการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ

การประกวดเขียนเรียงความ

" คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน "
  • รางวัลชนะเลิศ
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
  • รางวัลชมเชย
  • รางวัลชมเชย

รางวัลชนะเลิศ


เรียงความเรื่อง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

          "...การศึกษาขั้นมหาวิทยาลัย คือ การศึกษาค้นคว้า เพื่อสร้างเสริมและสะสมความรู้ ความชัดเจนในด้านวิชาการอย่างสูง และด้านการใช้ความคิดวิจารณญาณ ตามเหตุผลหลักวิชาความถูกต้อง ต้องมีปัญญา ซึ่งได้ผ่านการศึกษาระดับนี้  จัดว่าเป็นบุคคลที่ทางคุณค่า ผู้ที่จะเป็นกำลังสร้างสรรค์ ความเจริญมั่นคงทุกด้าน ของประเทศอย่างสำคัญต่อไป เหตุนี้บัณฑิตทั้งหลายจึงมีหน้าที่รับผิดชอบเกิดขึ้น ที่จะต้องนำความรู้ความคิด และความสามารถชัดเจนของตนออกมาปฎิบัติงาน เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมและบ้านเมือง..."  ความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาท ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากเนื้อหาที่ปรากฏในพระบรมราโชวาทข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าผู้ที่จะพัฒนาชาติบ้านเมืองตลอดจนประเทศชาติให้มีความเจริญและสุขสงบผู้นั้นก็คือบัณฑิต

          เมื่อกล่าวถึงประโยค “คนของพระราชา ค่าของแผ่นดิน” ซึ่งเป็นประโยคที่เปรียบดั่งสายโลหิตที่คอยหล่อเลี้ยงความเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ เป็นประโยคที่ปลูกฝังเหล่าบัณฑิตว่าการเป็นบัณฑิตในมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้น ตัวของบัณฑิตจะต้องมีความระลึกและตระหนักถึงการประพฤติปฏิบัติของตน ให้อยู่ภายใต้กฎระเบียบวินัย เหตุนี้ก็ด้วยเพื่อการที่จะให้บัณฑิตเติบโตไปเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ บ้านเมือง อีกประโยคที่ว่า “ข้าของแผ่นดิน” ก็มีนัยสำคัญ คือ “ผู้รับใช้แผ่นดินเกิด” กล่าวคือบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันมหาวิทยาลัยราชภัฏ จะต้องนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา กลับไปสานต่อและพัฒนาซึ่งท้องถิ่นของตนให้มีความเจริญงอกงาม เปรียบเสมือนสายน้ำที่คอยไหลรินหล่อเลี้ยงต้นกล้าให้มีความแข็งแรงและสง่างาม ท้ายสุดเมื่อแผ่นดินประกอบไปด้วยน้ำและต้นกล้าที่ต่างเติบโตจนแข็งแรงและสง่างาม แผ่นดินก็จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยความสุขสโมสร ทั้งนี้แล้ว การพัฒนาชาติให้มีความเจริญงอกงามและมั่นคงแล้วนั้น หาใช้หน้าที่ของผู้ที่เป็นบัณฑิตเพียงผู้เดียว แต่จะต้องเป็นความร่วมมือซึ่งกันและกันด้วยกำลังของผู้คนภายในชาติ ที่คอยผสานจนเป็นเกลียวแน่น จึงจะสามารถพัฒนาชาติให้มีความเจริญมั่นคงอย่างยั่งยืนต่อไป

          ดังนั้นแล้ว “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” จึงเป็นประโยคที่บ่งบอกให้ผู้คนต่างเห็นถึงคุณค่าและความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ที่ตนพึงมี ว่าจะต้องประพฤติปฏิบัติตนและพลีซึ่งประโยชน์ส่วนตนต่อแผ่นดิน และเห็นซึ่งคุณค่าที่จะบังเกิดปรากฏต่อประเทศชาติเป็นสำคัญ หากทุกคนรู้และตระหนักถึงหน้าที่และบทบาทแล้วนั้น การที่จะพัฒนาประเทศ พัฒนาชาติให้ก้าวสู่ความเจริญและมั่นคงในอนาคต ก็จะสำเร็จลุล่วงได้ตามจุดประสงค์ และอุดมการณ์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายเสฎฐวุฒิ พลวิชัย สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1


เรียงความเรื่อง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

        " คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน ” นิยามความหมายของ  " ราชภัฏ " เหล่านักศึกษาที่เล่าเรียนในสถาบันราชภัฏหรือชาวราชภัฏคงซาบซึ้งและเข้าใจนิยามของวลีนี้เป็นอย่างดี อันเนื่องมาจากสถาบันราชภัฏได้รับพระราชทานนาม"ราชภัฏ" จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เป็นชื่อประจำสถาบัน พร้อมทั้งพระราชทานพระราชลัญจกรเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยนับเป็นมหาสิริมงคลอันควรที่ชาวราชภัฏทั้งมวลภาคภูมิใจเสมอมา

         "คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” หากตีความให้ถ่องแท้และเข้าใจได้มากยิ่งขึ้นเปรียบเสมือนประดุจดั่ง “การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ที่ต้องถวายงานอย่างสุดความสามารถ สุดชีวิต สุดจิตสุดใจ” การเป็นคนของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ย่อมเป็นข้าของแผ่นดินอีกด้วย เนื่องจากว่าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร หมาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้เป็นมิ่งขวัญของพวกเราชาวราชภัฏทรงเป็นแบบอย่างการทรงงานเพื่อบ้านเมือง และแผ่นดินอย่างมิเคยทรงหยุดพักแม้เพียงน้อยนิด แม้ยามที่ทรงประชวรก็ไม่เคยหยุดทรงงาน เพื่อความสุขของตัวปวงชนชาวสยาม พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามสถาบันราชภัฏแก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อันเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม นำมาซึ่งความภาคภูมิใจสูงสุดมาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ แม้ว่าพระองค์จะเสด็จสวรรคตสู่สวรรคาลัยไปแล้ว แต่พระองค์ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณประเสริฐ พระองค์พระราชทานสิ่งดีงามสถิตไว้ มาสู่การปฏิบัติใช้ในชีวิต อีกทั้งทรงคุณูปการต่อการพัฒนาประเทศไทย สืบมาถึงปัจจุบัน ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ชาวราชภัฏได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการทำงานเพื่อสนองแนวทางพระราชดำริสืบต่อพระราชปณิธานและสืบสานพระราชประสงค์ เหมาะสมกับการเป็น "ข้ารองพระยุคลบาทยิ่ง" อุทิศตนทำงานควบคู่ไปกับการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะขณะนี้ที่มีการแพร่ระบาดของ Coronavirus disease ความสามัคคีของชาวราชภัฏตลอดจนปวงชนชาวไทยทุกคนมีความสำคัญอย่างมากเพื่อร่วมด้วยช่วยกันฟันฝ่าวิกฤตการณ์ไปด้วยกัน

         ในทุกวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันราชภัฏ ประหนึ่งเครื่องเตือนความทรงจำของพวกเราชาวราชภัฏคือ "คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน"  ระลึกถึงพระกรุณาธิคุณและจงรักภักดีด้วยการตั้งปณิธาน ประพฤติ ปฏิบัติหน้าที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทด้วยภารกิจสถาบันอุดมการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังของแผ่นดินฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน

นางสาวศศิธร ตรีพิมล สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2


เรียงความเรื่อง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

     “ คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน ” ตีความเป็นความหมายที่ลึกซึ้งกินใจได้ว่า  “ การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องถวายงานสุดความสามารถ สุดชีวิต และ สุดจิตสุดใจ ”

        ราชภัฏ คือ คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน เปรียบเสมือนว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏในทั่วประเทศ นั้นมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนาม สถาบันราชภัฏ แก่มหาวิทยาลัยครูทั่วประเทศ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทาน “ตราประจำพระองค์” หรือ “พระราชลัญจกร” แก่สถาบันราชภัฏทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นตราประจำสถาบัน จึงได้มาเป็นตรามหาวิทยาลัยราชภัฏที่ใช้กันมาตราบทุกวันนี้ เป็นเครื่องเตือนใจว่า “ชาวราชภัฏ คือคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”  มีหน้าที่อุทิศตนเพื่อการทำงาน คำนึงถึงผลประโยชน์ของแผ่นดิน ชาติและบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง ดังที่พระองค์ทรงเป็นแบบอย่าง การทำงานเพื่อบ้านเมือง และแผ่นดินอย่างที่ไม่เคยทรงหยุดพักแม้เพียงนิด แม้ยามที่ทรงประชวรก็ไม่เคยหยุดทรงงาน เพื่อความสุขของปวงชนชาวสยามของพระองค์

        ทุกคนจึงต้องมีจิตสำนึกที่จะอุทิศตน ทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีและเทิดทูน จะกระทำสิ่งใดต้องคำนึงถึงประชาชนเป็นที่ตั้ง รวมทั้งปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เปรียบเสมือนได้กระทำเพื่อถวายพระองค์

        การอยู่ภายใต้นามของราชภัฏ ถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของชาวราชภัฏที่ได้รับพระกรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากได้ยึดพระองค์เป็นแบบอย่างแล้ว พระองค์ยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ชาวราชภัฏได้มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เหมาะสมกับคำว่า “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

นางสาวชิดชนก เพชรวิเชียร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รางวัลชมเชย

เรียงความเรื่อง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

           คำว่า “ราชภัฏ” หมายถึง “คนของพระราชา  ข้าของแผ่นดิน” แฝงไปด้วยความหมาย นัยยะที่สำคัญ และลึกซึ้งมาก ซึ่งทุกวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ของทุกปีนั้น เด็กราชภัฏล้วนทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันแห่งการก่อเกิด “สถาบันราชภัฏ”

          หากจะขอกล่าวความเป็นของนาม ราชภัฏ ทุกคนคงทราบว่าเป็นวิทยาลัยครู เป็นเฉพาะทาง จึงอยากให้มีการจัดการศึกษาให้กว้างขึ้น จึงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานนามใหม่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในรัชกาลที่ ๙ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามใหม่ทุกแห่งว่า “สถาบันราชภัฏ” ซึ่งชาวราชภัฏในฐานะสถาบันอุดมศึกษา สมควรเทิดพระมหากรุณาธิคุณนี้ไว้เหนือเกล้า จงรักภักดี ประพฤติตน และปฏิบัติหน้าที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท  ที่สำคัญยังเป็นสถาบันที่พัฒนาประชาชนทุกหมู่เหล่า ให้ได้มีโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้าน  ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกสถานที่รวมถึงชุมชน สังคมพื้นที่ทุรกันดารที่หน่วยงานยังเข้าไม่ถึง ซึ่งส่วนใหญ่คงทราบดีว่าเด็กราชภัฏส่วนใหญ่มักมีฐานะยากจนซึ่งเด็กเหล่านี้เปรียบเสมือนต้นไม้ที่เป็นกล้าเล็ก ๆ  รอให้คนมารถน้ำพรวนดิน  เพื่อรอให้กล้าเหล่านี้ได้เติบโตไปเป็นต้นไม้ที่สวยงาม เปรียบง่ายคือ เด็กเหล่านี้เป็นกล้าที่ดีที่จะนำไปพัฒนาพื้นที่  ที่อยู่อาศัยของเด็กเหล่านี้ให้เป็นที่สวยงามที่ได้รับการพัฒนาและมีคุณค่า โดยการสร้างคุณค่าให้กับตนเอง จะเห็นว่าสถาบันราชภัฏมีการเปิดกว้าง และมีการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้น เพราะพระองค์ท่านทรงเล็งเห็นว่า ยังต้องมีอาชีพอีกมากมายนอกจากครู ที่จะต้องเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ บ้านเมือง ไม่ว่าจะเป็น พยาบาล นักเกษตร วิศวะกร นักพัฒนาท้องถิ่น และอีกมากมายหลายอาชีพที่สามารถพัฒนาชาติได้ ดังนั้น ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งที่จะต้องเป็นคนพัฒนา เพราะคำว่า “ราชภัฏ” คือคนของพระราชา หากต้องตีความอย่างลึกซึ้งกินใจและให้กว้างอีกออกไปนั้นก็คือ “การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องถวายงานอย่างสุดความสามารถ สุดชีวิต และสุดจิตใจ” ซึ่งการเป็นคนของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทนั้นย่อมเป็นข้าของแผ่นดินอีกด้วย

         ดังนั้น พวกเราเลือดราชภัฏจะถือโอกาสในการศึกษาเล่าเรียน ในการทำงานเพื่อสนองแนวทางพระราชดำริสืบต่อพระราชปณิธานและสืบสานพระราชประสงค์ให้เหมาะกับการเป็น “ข้ารองพระยุคลบาทยิ่ง” และอยากให้ชาวราชภัฏสำนึกเสมอว่า “มีหน้าที่อุทิศตนทำงานทุกอย่างเพื่อแผ่นดิน”

ชื่อนางสาวจันทร์จิรา นวลดี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ

รางวัลชมเชย


เรียงความเรื่อง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

       ในทุกวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ของทุกปีนั้น คือวันสถาปนา สถาบันราชภัฏซึ่งเดิม ชื่อวิทยาลัยวิชาชีพครู ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในรัชกาลที่ ๙ ได้ทรงพระราชทานนามใหม่ ให้แก่วิทยาลัยครูทั่วทุกสถาบัน

        ซึ่งความภาคภูมิใจนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเกียรติยศสูงสุดแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นอย่างยิ่ง ในคำว่า คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน นั้นมีความหมายตรงตัวที่ทุกคนล้วนทราบกันดี ว่าคนของพระราชา คือ บุคคลที่ถวายงานใต้ฝ่าละอองธุลีฝ่าบาทอย่างเต็มความสามารถและสุดกำลัง ซึ่งพระองค์ท่านเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา อยากให้ทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อที่จบออกไปจะได้ไปพัฒนาพื้นที่ชุมชน พัฒนาบุคคลให้ดีขึ้น เพราะเราคือคนของแผ่นดิน คนที่เป็นแบบอย่าง ทำคุณประโยชน์ให้แผ่นดิน เพราะยังมีพื้นที่อีกมากมายที่ยังรอการพัฒนา ที่แห่งนี้ไม่เพียงแต่เป็นสถาบันการศึกษา แต่เป็นครอบครัวใหญ่ที่ให้ความรู้และความอบอุ่น เพราะเราเป็นคนของแผ่นดิน บุคคลที่พัฒนาท้องถิ่นที่ถูกเสริมสร้างพลังปัญญา ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ ที่จะเชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยาเพื่อความเจริญก้าวหน้าและยังยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้สมดุลและยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไป พระองค์ท่านทรงงานเพื่อแผ่นดิน ทรงเข้าไปฟื้นฟูพื้นที่ทุกแห่ง ให้มีกิน มีใช้ และมีอาชีพ ทรงบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชนที่ยากไร้ จึงได้มีสถาบันราชภัฏเกิดขึ้นมา เพราะเหตุผลเหล่านี้ เพียงเพราะอยากให้คนมีอาชีพมีความรู้ ที่สำคัญคือมีอยู่มีกิน

        จะสรุปได้ว่า สถาบันราชภัฏคือสถาบันของแผ่นดิน สถาบันที่ก่อเกิดขึ้นมา เพื่อรับใช้ประชาชน มาพัฒนาท้องถิ่นให้ดีขึ้น โดยใช้ความรู้ของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาเข้าไปปรับปรุงดูแล และแก้ไขให้ดีขึ้น เพื่อให้คนรุ่นต่อไปมีอนาคตที่ดี ให้คนในพื้นที่มีกิน โดยอาศัยความรู้ กำลังกาย ของคนเหล่านี้เข้าไปพัฒนาพื้นที่กันดารให้มีความเจริญ ตามพระปณิธานของพระองค์ท่าน

นางสาวสิริวิมล จิตต์เอื้อ สาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การประกวดภาพถ่าย “PBRU Landmark 2021”

ชื่อผลงาน “รากราชภัฏ”

รางวัลชนะเลิศ

นายรณชัย ศิริวรรณ สาขานิเทศศาสตร์    |   คณะวิทยาการจัดการ   

แนวคิดและความหมายของภาพ

                  ความกลมเกลียวของลูกราชภัฏที่แน่นแฟ้นและสามัคคีรวมกันเป็นหนึ่งดั่งรากไม้และรากไม้สื่อถึงความไม่ลืมรากเหง้าของตัวเองแม้ว่าจะมีคนดูถูกมากเพียงใดแต่เรายังคงมั่นใจในตัวเองและมั่นใจในรากเหง้าของตัวเองเพราะพวกเราคือ “ลูกราชภัฏ”

ชื่อผลงาน “ลานไทร for newbie”

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1

นายธีรภัทร แหลมสุข  สาขานิเทศศาสตร์   |  คณะวิทยาการจัดการ   

แนวคิดและความหมายของภาพ

จุดเริ่มต้นสถานที่แห่งนี้เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของฉัน เมื่อก้าวเข้ามายังรั้วมหาวิทยาลัยและยังเป็นที่ ๆ ทำให้พี่ ๆ น้อง ๆ ทุกคนได้รู้จักกันดียิ่งขึ้น เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความสนุก แม้จะทำให้เหนื่อยก็ตาม เป็น Landmark ที่ถ้าหากทุกคนก้าวเข้ามายัง PBRU คุณต้องลองมาสนุกที่นี่สักครั้งในการทำกิจกรรม

ชื่อผลงาน “ตึกไดโนเสาร์ พาเรามาพบกัน”

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2

นายธนพัฒน์ ชนะสงคราม    |   สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ  

แนวคิดและความหมายของภาพ

                 ตึก 25 นิวัติสโมสรหรือที่เรียกกันจนติดปากว่า ตึกไดโนเสาร์เป็นจุดศูนย์รวมของการทำกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และเป็นจุดที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกหลายอย่าง ทั้งห้องเรียน ร้านอาหาร จุดถ่ายเอกสารหรือร้านกาแฟ จึงทำให้เป็นแลนด์มาร์คจุดหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใคร ๆ ก็จะพูดถึงไม่ว่าจะเป็นการนัดเจอเพื่อน ๆ การนัดกันมาทำงาน การมานั่งคุยกันในสถานที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

ชื่อผลงาน “Foundation”

รางวัลชมเชย

นายปวริศร จิวานานนท์    |   สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ 

แนวคิดและความหมายของภาพ

               Foundation นั้นแปลว่า รากฐาน ซึ่งคติที่ว่า รากฐานของตึกนั้นคืออิฐรากฐานของชีวิตคือการศึกษา จึงมีแนวคิดว่ามุมที่มองเห็นถึงอาคารต่าง ๆ รวมถึงสนามกีฬา เพราะสิ่งปลูกสร้างในมหาวิทยาลัยนี้มีความเพียบพร้อม เปรียบเสมือนชีวิตที่มีความมั่นคงเพราะความเพียบพร้อมของอาคารเหล่านั้นแสดงออกถึงการศึกษาที่เพียบพร้อมเช่นกัน เปรียบได้กับชีวิตที่มีรากฐานที่มั่นคง

ชื่อผลงาน “ยามบ่ายของอาคารสุเมธตันติเวชกุลและสนามกีฬา”

รางวัลชมเชย

นางสาวปิยธิดา ไก่แก้ว   |   สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

แนวคิดและความหมายของภาพ

             จากแนวภาพของการประกวดภาพถ่าย PBRU Landmark 2021 ทำให้อยากส่งภาพในมุมมองแบบกว้างที่นักศึกษาทุกคนต้องเคยผ่านตรงนี้แน่นอน เพราะในภาพมีทั้งสนามกีฬาและอาคารสุเมธตันติเวชกุลที่เป็นจุดเด่น ในภาพนี้เป็นการถ่ายแบบธรรมชาติไม่มีการตกแต่งสีหรือแสง เพราะอยากคงบรรยากาศจริงของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีไว้ โดยส่วนตัวชอบโทนสีฟ้าเลยเลือกถ่ายภาพทั้งท้องฟ้าและสนามกีฬารวมไปถึงอาคารสุเมธตันติเวชกุล เพื่อคุมโดทนนี้ไว้

              สำหรับความหมายของภาพก็เหมือนที่บรรยายไปข้างต้น รูปมุมนี้นักศึกษาทุกคนคงเดินผ่านไปผ่านมาจนชิน แต่อาจจะไม่ค่อยมีคนมองมุมนี้ จุดนี้ นาน ๆ เท่าไหร่จึงตัดสินใจเลือกถ่ายภาพนี้เก็บไว้และหวังว่าถ้าใครมีเรื่องไม่สบายใจลองมายืนที่ตรงนี้มุมนี้จะได้แรงบันดาลใจเช่นผู้ถ่ายนะคะ

รางวัลชนะเลิศ

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2

รางวัลชมเชย

รางวัลชมเชย

การประกวดคลิปวีดิโอ “จิตอาสา”

รางวัลชมเชย การประกวดคลิปวีดิโอ จิตอาสา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
Play Video

ทีม Fap X Production

1.นายภานุพงค์ โตพงษ์                สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ

2.นายภัทระ ศรนรินทร์                 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ

3.นายสิทธิชาติ บุญอิ่ม                 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ

4.นางสาวชญานิษฐ์ นิลแดง        สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ

5.นางสาวอนัญญา ยงรัมย์          สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ

รูปภาพมหาวิทยาลัยอดีต - ปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี | Phetchaburi Rajabhat University

นิทรรศการออนไลน์
14 กุมภาพันธ์ วันสถาปนาราชภัฏ

Scroll to Top