Green and Clean University

พื้นที่สีเขียว หรือจุดเช็คอินมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี สถานที่สำหรับ ทำงาน อ่านหนังสือ เรียนรู้ หรือผักผ่อน ที่มีไว้สำหรับนักศึกษาในและนอกมหาวิทยาลัย บุคคลากร รวมทั้งบุคลลภายนอกทั่วไปทุกคน



PBRU GREEN UNIVERSITY | Green and Clean University

มหาวิทยาลัยสีเขียว



มาตรการ 3G

นโยบายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย

ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เรื่อง นโยบายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พัฒนาสู่สํานักงานสีเขียว (Green Office) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)

แนวทางการจัดประชุมและนิทรรศการในสํานักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ประกาศสํานักงานอธิการบดี เรื่อง แนวทางการจัดประชุมและนิทรรศการในสํานักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สํานักงานอธิการบดีพัฒนาสู่สํานักงานสีเขียว (Green Office) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการ พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) เเละเป็นแนวทางการจัดประชุมและนิทรรศการในสํานักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

คู่มือการลดก๊าซเรือนกระจกของประชาชน

การลดก๊าซเรือนกระจกและรับมือการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศภาคประชาชน ทั้งการเปลี่ยนเเปลงของสภาพอากาศ สาเหตุของปัญหา แนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การแก้ปัญหาและกำดำเนินงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

PBRU GREEN POLICIES

Vision Mision : The Green Master Plan

   ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิเชียร เข็มเงิน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วยคณาจารย์และนักศึกษาร่วมแสดงพลังในการที่จะทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยมีการแถลงนโยบายโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนา 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการจัดการของเสีย ด้านการจัดการน้ำ ด้านการจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ด้านการวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งและด้านการศึกษา โดยมีหลักการ 3 ด้าน คือ ด้านสังคม ให้ความสำคัญด้านการมีส่วนร่วมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านเศรษฐกิจ มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่อย่างต่อเนื่องในระยะยาว และด้านสิ่งแวดล้อม เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สำหรับแนวทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเขียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้แก่ มาตรการ 2R 3G 4L


มาตรการ 2R

1. Renewable Energy

ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดัน ให้มีการใช้พลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย อาทิเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ไบโอแก๊ส และ ไบโอดีเซล

2. Recycle Park

พื้นที่เรียนรู้ และสร้างสรรค์ ในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์จากขยะรีไซเคิล ซึ่งเป็นวัสดุที่ได้จากกิจกรรมธนาคารขยะแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี


มาตรการ 3G

1. Green Vision Creation

ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้เกิดการดำเนินกิจกรรมสีเขียวอย่างต่อเนื่อง

2. Good Conservation Practice

สร้างสมดุลในมิติของ “การพัฒนามหาวิทยาลัยให้ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์” โดยการมีแผนปฏิบัติการอนุรักษ์ที่ดี การบริหารการใช้ทรัพยากรอย่างชาญชลาด

3. Green & Smart Office

ส่งเสริม สนับสนุนและผลักดัน ให้แต่ละคณะและสำนักงานภายในมหาวิทยาลัยสามารถเข้าสู่ระบบมาตรฐาน “สำนักงานสีเขียว” ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม


มาตรการ 4L

1. Leader of Eco Consumption

เป็นผู้นำด้านการบริโภคอย่างฉลาด เลือกใช้สินค้า ผลิตภัณฑ์และวัสดุต่างๆในกิจการของมหาวิทยาลัย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในกลุ่มของ “ฉลากนิเวศน์” หรือ “Eco Label”

2. Low Carbon Transportation

กำหนดจุดจอดยานพาหนะส่วนบุคคล ลดการเคลื่อนไหวของยานพาหนะภายในมหาวิทยาลัย โดยส่งเสริมให้ใช้ระบบขนส่งมวลชน เพื่อรับ-ส่ง บุคลากรและนักศึกษา

3. Less Waste & Pollution

ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการขยะที่ดี ผ่านการรณรงค์แคมพ์เปญ มาตรการและข้อบังคับ

4. Living Green Campus

สร้างบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยให้มีความสะอาด ร่มรื่น ทันสมัย สะดวกสบาย ปลอดภัย มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเขียวสะอาด

ข่าวสารการจัดโครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว

กิจกรรมที่ 1

   สืบเนื่องจากหลักการทำงานทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือการเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา และน้อมนำพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า “เราจะสืบสาน รักษาและต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์แห่งอาณาราษฎรตลอดไป” มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จึงร่วมแรงร่วมใจกันในการลงพื้นที่ปลูกหญ้าเนเปียร์ บนพื้นที่ 2 ไร่ ซึ่งเป็นพืชอาหารสัตว์ไว้แจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่โดยรอบวิทยาเขตโปร่งสลอด โดยมีจุดมุ่งหมายให้นักศึกษามีจิตอาสา รู้จักการแบ่งปันซึ่งกันและกัน เสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รู้จักแก้ไขปัญหาและทำงานเป็นทีมได้ ซึ่งหลังจากนี้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีและประชาชนในพื้นที่จะร่วมกันดูแล ด้วยการใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช ก่อนที่จะมีการตัดหญ้าเนเปียร์แจกจ่ายให้กับประชาชนเมื่อมีอายุครบ 45 วัน

กิจกรรมที่ 2

   นักศึกษาจิตอาสาและบุคลากร ลงพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุร วิทยาเขตโป่งสลอด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี เพื่อทำกิจกรรม “รวมพลคนไปโป่ง” รวมพลคนจิตอาสา พลังนักศึกษา พลัง PBRU สองมือหนึ่งหัวใจ ก้าวไปสู่วิศวกรสังคม PBRU ที่กองพัฒนานักศึกษาได้ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าราชภัฏเพชรบุรีจัดขึ้น เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563กิจกรรมในครั้งนี้ ได้มีการปลูกหญ้าแฝกริมสระน้ำเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน หว่านปอเทือง รอวันเติบโตเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มแร่ธาตุให้กับดิน การปลูกต้นหมากรอบสระน้ำ ตลอดจนการปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดพื้นที่โดยรอบ พร้อมเตรียมรองรับนักท่องเที่ยวในการเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ

กิจกรรมที่ 3

   กลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบุรี เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์ ภายใต้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (SDGsPGS) จังหวัดเพชรบุรี ที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 17 – 19 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ในฐานะประธานคณะทำงานรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS จังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานในการอบรม

   จังหวัดหวัดเพชรบุรีมีแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ. 2561-2565 ในการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและเติบโตจากฐานการเกษตรแบบครบวงจร โดยส่งเสริมอาหารปลอดภัยและมีคุณภาพมาตรฐาน ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมมาช่วยในการผลิต สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชน เสริมสร้างความมั่นคง ทางการเกษตร เพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดในการแข่งขันและการส่งออก

กิจกรรมที่ 4

   รายการ ฮ็อตไลน์ ไทยแลนด์ ททบ.5 ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 09.10- 09.35 น.ช่วง เปิดโลกเทคโนโลยี สกู๊ป พิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีในการดำเนินงานของการใช้พลังงานแสงอาทิตยืเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

    มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีในการดำเนินงานของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐาน ของมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกที่เป็นผลงานการออกแบบโดยนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และอุสาหกรรม เพื่อช่วยลดพลังงานสร้างพลังงานเสริมและต่อยอดเรื่องการประหยัดไฟฟ้าในอาคารและการขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดเป็นต้น

กิจกรรมสีเขียว

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ร่วมสืบสานประเพณีไทย จัดงานลอยกระทง ประจำปี 2565

นักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีนำเสนอความก้าวหน้าโครงการ “Weastern Safe Agriculture and Food Entrepreneurs Park”

อาจารย์คงขวัญ ศรีสอาด หัวหน้าโหนดงานวิจัยเครือข่ายราชภัฏภูมิภาคตะวันตก นำผลงานวิจัยตาม concept “งานวิจัยขายได้”

กรมโรงงานอุตสาหกรรม และบริษัท ไทยสตีมเซอร์วิส แอนด์ ซัพพลาย จำกัด เข้าเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ระบบน้ำมันร้อนหมุนเวียน

ประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย

เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ให้เกียรติบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "หลักการทรงงานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน"

รองอธิการบดีรับรางวัลอาจารย์ดีเด่นด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (การพัฒนาชนบท) ประจำปี 2564

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสีข้าวและอบข้าว

คณะวิทยาการจัดการรายงานผลความสำเร็จโครงการพัฒนาและยกระดับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดเทศกาลส่องนกเงือกและนกต่าง ๆ บ้านหนองน้ำดำ

คณะวิทยาการจัดการ จัดกิจกรรมยุวเกษตรพอเพียง ภายใต้หลักการวิศวกรสังคม

สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมพัฒนาพื้นที่วิทยาเขตโป่งสลอดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปลูกหญ้าแพงโกล่า

เปิดฤดูกาลทำนาข้าวปลอดภัย เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเข้าร่วมประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย(สัญจร) ครั้งที่ 2 ประจำปี 2565

นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานและเปิดศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานฯ ณ วิทยาเขตโป่งสลอด

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นำเสนอรายงานผลงานบริการวิชาการในยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดนิทรรศการออนไลน์ “ผลการดำเนินงานยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น”

กิจกรรม เดินตามรอยเท้าพ่อ สานต่อความพอเพียง

ม.ราชภัฏเพชรบุรีร่วมพลังชาวโป่งสลอด ปลูกหญ้าแฝกพัฒนาพื้นที่สู่การเรียนรู้

กิจกรรม เดินตามรอยเท้าพ่อ สานต่อความพอเพียง

นักศึกษาวิศวกรสังคม ปรับปรุงดินและแปลงปลูกผักสวนครัว เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าตะคร้อ

สำนักงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นรวมพลังเยาวชน ปลูกไผ่เพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ ใช้ประโยชน์ครบวงจร

มรภ.พบ. ประสานพลังกับส่วนราชการในจังหวัด ขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น (MOU)

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ารับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว