MOU พัฒนาท้องถิ่น
ข่าวสื่อสารองค์กร,26 ตุลาคม 2020
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ประสานพลังกับส่วนราชการในจังหวัด ขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 26 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุมราชภัฏสภา ชั้น 9 อาคารวิทยาภิรมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับนายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ว่าด้วยการประสานความร่วมมือทางวิชาการและปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีคณบดีทั้ง 8 คณะ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ นายอำเภอ 8 อำเภอของจังหวัดเพชรบุรี เข้าร่วม
สำหรับเป้าหมายสำคัญในการลงนามข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ คือพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในชุมชนและพัฒนาระบบบริหารจัดการ ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษาและศิลปวัฒนธรรม โดยตกลงทำความร่วมมือในสาระสำคัญ ประกอบด้วย สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เน้นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนให้มีทักษะ ความรู้และความสามารถในด้านการบริหารจัดการที่ดี การจัดระบบข้อมูลและองค์ความรู้ของงานวิจัย เพื่อพัฒนาและสื่อสารงานพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และจังหวัดเพชรบุรี ด้วยความรับผิดชอบและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 และสิ้นสุดโครงการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564
ขณะที่บทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคส่วนนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมีบทบาทในการสนับสนุนงบประมาณและด้านวิชาการ รวมถึงการ บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน จังหวัดเพชรบุรีมีบทบาทในการสนับสนุนบุคลากรด้านวิชาการและสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน และประสานงานร่วมกันกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และอำเภอมีบทบาทในการให้ข้อมูลเพื่อเชื่อมประสานงานระดับพื้นที่ รวบรวมปัญหาจากชุมชน เพื่อขอรับการสนับสนุนทางด้านวิชาการ ด้านงบประมาณและบูรณาการการทำงานในด้านต่าง ๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า “มหาลัยราชภัฎเพชรบุรี เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสังเกตได้จากผลงานที่ประจักษ์ออกมาสู่สังคม ในฐานะของผู้ว่าราชการจังหวัด รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือทำงานกับมหาวิทยาลัยฯ เพื่อที่จะสร้างความแข็มแข็งให้กับชุมชน ซึ่งในเรื่องนี้นายอำเภอต้องให้การสนับสนุนการทำงานทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยฯ ที่นับเป็นหัวเรือใหญ่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น ที่ผ่านมานั้นคณบดีและผู้เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาของประชาชน พร้อมให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่ชุมชนต้องการ เพราะท้ายที่สุดแล้ว ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือพี่น้องประชาชน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีดูแลพื้นที่ 2 จังหวัด คือจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่น จึงมอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งไปวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น ที่เรียกว่าแผนพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฎ ระยะ 20 ปี โดยมีพลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี เป็นผู้ติดตามการทำงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ พร้อมตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจมหาวิทยาลัยราชภัฎและส่วนราชการที่ดำเนินงานร่วมกัน ในส่วนของมหาวิทยาลัยฯ ได้นำงานวิจัยด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่มาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยนำสิ่งที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ของตนเองมาพัฒนาหรือต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ม”
#รายงานโดย กลุ่มงานสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
Popular Post
- MOU พัฒนาท้องถิ่น
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ารับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว
- ส่งมอบความรู้และผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้กับชุมชนไร่ส้ม
- นโยบายสิ่งเเวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย
- แนวทางการจัดประชุม และนิทรรศการในสำนักงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- กิจกรรม “รวมพลคนไปโป่ง” ปรับภูมิทัศน์เตรียมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงปฏิบัติ
- ฮ็อตไลน์ ไทยแลนด์ ททบ.5 ช่วง เปิดโลกเทคโนโลยี สกู๊ป พิเศษ "การใช้พลังงานแสงอาทิตยืเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม"
- นักศึกษาจากประเทศญี่ปุ่นร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านสิ่งแวดล้อม
- นักศึกษาจิตอาสา ลงพื้นที่สร้างแหล่งอาหารให้ช้างป่า
- มรภ.เพชรบุรีร่วมกับมณฑลทหารบกที่ 15 จัดกิจกรรมกตัญญูคลับ ปันน้ำใจสู่ชุมชน
- มรภ.เพชรบุรีร่วมกับภาคีเครือข่าย ปลูกผักแจกจ่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
- มรภ.เพชรบุรี.ให้ความสำคัญชุมชน จัดโครงการครึ่งไร่คลายวิกฤตฟื้นชีวิตหลัง Covid-19
- ผู้บริหาร บริษัท เดอะรีเจ้นท์ฯ แลกเปลี่ยนความรู้ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ฯ
- คณะพยาบาลศาสตร์ปลูกพืชสมุนไพร นำผลผลิตไปแปรรูปเป็นยาและเวชสำอาง
- มรภ.เพชรบุรี เลือกโรงเรียนบ้านหุบกะพงเป็นต้นแบบโครงการคลังการเรียนรู้ PBRU
- PBRU ปันสุข จะเป็นสะพานบุญให้กับประชาชนที่มีกำลังในการแบ่งปัน
- “มรภ.เพชรบุรี ปรับพื้นที่เป็นแหล่งสร้างอาหาร สร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับนักศึกษา
- ผู้ว่าเมืองเพชร เยี่ยมชม “สัตวศาสตร์ฟาร์ม” พร้อมเตรียมพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
- มรภ.เพชรบุรี ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ปี 2019
- อธิการบดี มรภ.เพชรบุรี เร่งรัดให้ปฏิบัติงานตามแผนการใช้พื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- บรรยายพิเศษ “เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง” โดยอาจารย์โจน จันได
- เกษตรกรเครือข่าย เข้าร่วมอบรมการใช้แอปพลิเคชั่น ThaiOrganicPlatform
- มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าศึกษาดูงาน “มหาวิทยาลัยสีเขียว”
- มรภ.เพชรบุรี นำเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์
- ถ่ายทอดสด เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ “จอน นอนไร่”
- มรภ.เพชรบุรี ร่วมใจ เลิกใช้ถุงพลาสติกพร้อมกันทั้งมหาวิทยาลัย
- สารคดีเทิดพระเกียรติ ชุด พลังราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่นตอนที่ 10 ขยะสร้างสามัคคี มรภ.เพชรบุรี
- งานสื่อสารองค์กรจับมือสโมสรนักศึกษา สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการลดใช้พลังงานและถุงพลาสติก
- 7-ELEVEN (เซเว่น อีเลฟเว่น) นำเสนอโครงการ Green University ร่วมกับมรภ.เพชรบุรี
- อธิการบดีมรภ.เพชรบุรี ให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ
- มิติใหม่ของการเปลี่ยนขยะ กับ“ขยะแลกเครดิต”
- มรภ.เพชรบุรี เข้ารับรางวัล "สถานศึกษาปลอดภัย” ดีเด่น ประจำปี 2562
- มรภ.เพชรบุรี สนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์พร้อมร่วมวางแผนดำเนินงาน
- ดูงานด้านกายภาพ Green & Clean University
- ททท.สำนักงานเพชรบุรี ส่งเสริมการท่องเที่ยววันธรรมดาให้น่าเที่ยว
- “การอนุรักษ์พรรณไม้ไทยด้วยเทคนิคการขยายพันธุ์พืชแบบควบแน่นอย่างง่าย”
- อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ จำนวน 45 คน ร่วมกิจกรรม “กล้วยไม้ไทยกลับคืนสู่ป่า”
- “ปั่นเพื่อแม่ไปแลบ้านลาด” กิจกรรมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
- ขอเชิญชวนชาวราชภัฏเพชรบุรีรวมพลัง แยกก่อนทิ้ง แยกขยะง่าย ๆ จากตัวเราเอง
- โครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการให้ความรู้ทางด้าน พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน”
- สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน ศึกษาดูงานด้านพลังงานทดแทน
- แถลงนโยบายโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว
- สาขาวิชาชีววิทยา จัดกิจกรรมปฏิบัติการเรียนรู้วิชาการชีววิทยาทางทะเล
- ประชุมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
- โครงการวิจัยบูรณาการเครือข่ายชุมชนเพื่อท้องถิ่นน่าอยู่อย่างยั่งยืน
- โครงการ “การพัฒนาเส้นทางเดินลอยฟ้าเหนือป่า(Canopy Walkway) ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ไอเดียบรรเจิด ใช้โดรนพ่น"ฉี่เสือโคร่ง"ไล่ช้างไม่ให้เดินบนถนน
- ก้าวเพื่อความดี ด้วยศาสตร์พระราชา คืนผืนป่าให้ช้างครั้งที่ 2
- ”ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 5”“การขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน”
- ปลูกข้าวอินทรีย์ตามวิถีพอเพียง
- โครงการ “ปันน้ำใจ ให้ช้างป่า”
- โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
- เตรียมจัดกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ
- จิตอาสาเพื่อชุมชนแห่งการดูแลและเอื้ออาทร ณ พื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดเพชรบุรี
- นวัตกรรมโดรนไล่ช้าง
- สัมภาษณ์ในรายการสารคดีเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 ในเรื่องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนไร่มะขาม
- นักศึกษาชมรมเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาสร้างฝายชะลอน้ำให้กับชุมชน
- ประชุมเครือข่ายโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
- กะลังตังช้าง พืชไล่ช้าง
- โครงการ “รวมใจรักษ์หาด คืนธรรมชาติสู่ท้องทะเลไทย ประจำปี 2561
- ปรับปรุงภูมิทัศน์มหาวิทยาลัย
- ร่วมประชุมยุทธศาสตร์ราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
- จัดทำแผนแก้ไขปัญหาขยะ
- คณะวิทยาการจัดการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวและอาหารปลอดภัย
- ทำความสะอาดบึงบัวหลวงราชินี
- ห้องสมุดสีเขียว
- มรภ.เพชรบุรีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มรภ.เพชรบุรี
- มรภ.เพชรบุรี ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริการวิชาการแก่ชุมชนในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี รับการตรวจประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการกองประเมินและรับรองคุณภาพสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- กิจกรรมเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว