แถลงนโยบายโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว
ข่าวสื่อสารองค์กร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิเชียร เข็มเงิน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วยคณาจารย์และนักศึกษาร่วมแสดงพลังในการที่จะทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยมีการแถลงนโยบายโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนา 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการจัดการของเสีย ด้านการจัดการน้ำ ด้านการจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ด้านการวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งและด้านการศึกษา โดยมีหลักการ 3 ด้าน คือ ด้านสังคม ให้ความสำคัญด้านการมีส่วนร่วมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านเศรษฐกิจ มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่อย่างต่อเนื่องในระยะยาว และด้านสิ่งแวดล้อม เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
สำหรับแนวทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเขียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้แก่ มาตรการ 2R 3G 4L ประกอบไปด้วย
มาตรการ 2R
1. Renewable Energy ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้มีการใช้พลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย อาทิเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ไบโอแก๊ส และ ไบโอดีเซล ซึ่งมุ่งเน้นกระบวนการวิจัยและพัฒนาจาก คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินการ
2. Recycle Park พื้นที่เรียนรู้และสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์จากขยะรีไซเคิล ซึ่งเป็นวัสดุที่ได้จากกิจกรรมธนาคารขยะแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อาทิเช่น สวนศิลปกรรมจากขยะพลาสติก ลานปุ๋ยหมักจากวัสดุชีวมวล และขยะเศษอาหาร ซึ่งเป็นการดำเนินการขับเคลื่อนระหว่างคณาจารย์ และนักศึกษา อันจะก่อให้เกิดการไหลเวียนองค์ความรู้ ควบคู่ไปกับการจัดการขยะที่ดีภายในมหาวิทยาลัย
มาตรการ 3G
1. Green Vision Creation ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้เกิดการดำเนินกิจกรรมสีเขียวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการรณรงค์สร้างจิตสำนึกกับบุคลากรและนักศึกษา อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติ และสร้างวิสัยทัศน์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนต่อไป
2. Good Conservation Practice สร้างสมดุลในมิติของ “การพัฒนามหาวิทยาลัยให้ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์” โดยการมีแผนปฏิบัติการอนุรักษ์ที่ดี การบริหารการใช้ทรัพยากรอย่างชาญชลาด ทั้งในด้านของการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว การอนุรักษ์แหล่งน้ำและการนำมาใช้ประโยชน์ การประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน
3. Green & Smart Office ส่งเสริม สนับสนุนและผลักดัน ให้แต่ละคณะและสำนักงานภายในมหาวิทยาลัยสามารถเข้าสู่ระบบมาตรฐาน “สำนักงานสีเขียว” ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการปฏิบัติงานที่ดี ทันสมัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มาตรการ 4L
1. Leader of Eco Consumption เป็นผู้นำด้านการบริโภคอย่างฉลาด เลือกใช้สินค้า ผลิตภัณฑ์และวัสดุต่างๆในกิจการของมหาวิทยาลัย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในกลุ่มของ “ฉลากนิเวศน์” หรือ “Eco Label” อาทิเช่น ฉลากเขียว ฉลากคาร์บอน และฉลากประหยัดไฟ เป็นต้น
2. Low Carbon Transportation กำหนดจุดจอดยานพาหนะส่วนบุคคล ลดการเคลื่อนไหวของยานพาหนะภายในมหาวิทยาลัย โดยส่งเสริมให้ใช้ระบบขนส่งมวลชน เพื่อรับ-ส่ง บุคลากรและนักศึกษา ซึ่งยานพาหนะสำหรับขนส่งจะใช้พลังงานทดแทนเป็นหลัก เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล ลดการปลดปล่อยมลพิษ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในมหาวิทยาลัย
3. Less Waste & Pollution ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการขยะที่ดี ผ่านการรณรงค์แคมพ์เปญ มาตรการและข้อบังคับ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อลดอัตราการผลิตขยะภายในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะ ขยะพลาสติก ที่ปัจจุบันกำลังเป็นปัญหาไปทั่วโลก
4. Living Green Campus สร้างบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยให้มีความสะอาด ร่มรื่น ทันสมัย สะดวกสบาย ปลอดภัย มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเขียวสะอาด ที่นักศึกษา คณาจารย์ รวมถึงบุคลากรทั้งภายในและภายนอกสามารถใช้เวลาเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตลอดทั้งวัน
#รายงานโดย กลุ่มงานสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
Popular Post
- นโยบายสิ่งเเวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย
- แนวทางการจัดประชุม และนิทรรศการในสำนักงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- กิจกรรม “รวมพลคนไปโป่ง” ปรับภูมิทัศน์เตรียมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงปฏิบัติ
- ฮ็อตไลน์ ไทยแลนด์ ททบ.5 ช่วง เปิดโลกเทคโนโลยี สกู๊ป พิเศษ "การใช้พลังงานแสงอาทิตยืเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม"
- นักศึกษาจากประเทศญี่ปุ่นร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านสิ่งแวดล้อม
- นักศึกษาจิตอาสา ลงพื้นที่สร้างแหล่งอาหารให้ช้างป่า
- มรภ.เพชรบุรีร่วมกับมณฑลทหารบกที่ 15 จัดกิจกรรมกตัญญูคลับ ปันน้ำใจสู่ชุมชน
- มรภ.เพชรบุรีร่วมกับภาคีเครือข่าย ปลูกผักแจกจ่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
- มรภ.เพชรบุรี.ให้ความสำคัญชุมชน จัดโครงการครึ่งไร่คลายวิกฤตฟื้นชีวิตหลัง Covid-19
- ผู้บริหาร บริษัท เดอะรีเจ้นท์ฯ แลกเปลี่ยนความรู้ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ฯ
- คณะพยาบาลศาสตร์ปลูกพืชสมุนไพร นำผลผลิตไปแปรรูปเป็นยาและเวชสำอาง
- มรภ.เพชรบุรี เลือกโรงเรียนบ้านหุบกะพงเป็นต้นแบบโครงการคลังการเรียนรู้ PBRU
- PBRU ปันสุข จะเป็นสะพานบุญให้กับประชาชนที่มีกำลังในการแบ่งปัน
- “มรภ.เพชรบุรี ปรับพื้นที่เป็นแหล่งสร้างอาหาร สร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับนักศึกษา
- ผู้ว่าเมืองเพชร เยี่ยมชม “สัตวศาสตร์ฟาร์ม” พร้อมเตรียมพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
- มรภ.เพชรบุรี ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ปี 2019
- อธิการบดี มรภ.เพชรบุรี เร่งรัดให้ปฏิบัติงานตามแผนการใช้พื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- บรรยายพิเศษ “เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง” โดยอาจารย์โจน จันได
- เกษตรกรเครือข่าย เข้าร่วมอบรมการใช้แอปพลิเคชั่น ThaiOrganicPlatform
- มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าศึกษาดูงาน “มหาวิทยาลัยสีเขียว”
- มรภ.เพชรบุรี นำเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์
- ถ่ายทอดสด เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ “จอน นอนไร่”
- มรภ.เพชรบุรี ร่วมใจ เลิกใช้ถุงพลาสติกพร้อมกันทั้งมหาวิทยาลัย
- สารคดีเทิดพระเกียรติ ชุด พลังราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่นตอนที่ 10 ขยะสร้างสามัคคี มรภ.เพชรบุรี
- งานสื่อสารองค์กรจับมือสโมสรนักศึกษา สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการลดใช้พลังงานและถุงพลาสติก
- 7-ELEVEN (เซเว่น อีเลฟเว่น) นำเสนอโครงการ Green University ร่วมกับมรภ.เพชรบุรี
- อธิการบดีมรภ.เพชรบุรี ให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ
- มิติใหม่ของการเปลี่ยนขยะ กับ“ขยะแลกเครดิต”
- มรภ.เพชรบุรี เข้ารับรางวัล "สถานศึกษาปลอดภัย” ดีเด่น ประจำปี 2562
- มรภ.เพชรบุรี สนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์พร้อมร่วมวางแผนดำเนินงาน
- ดูงานด้านกายภาพ Green & Clean University
- ททท.สำนักงานเพชรบุรี ส่งเสริมการท่องเที่ยววันธรรมดาให้น่าเที่ยว
- “การอนุรักษ์พรรณไม้ไทยด้วยเทคนิคการขยายพันธุ์พืชแบบควบแน่นอย่างง่าย”
- อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ จำนวน 45 คน ร่วมกิจกรรม “กล้วยไม้ไทยกลับคืนสู่ป่า”
- “ปั่นเพื่อแม่ไปแลบ้านลาด” กิจกรรมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
- ขอเชิญชวนชาวราชภัฏเพชรบุรีรวมพลัง แยกก่อนทิ้ง แยกขยะง่าย ๆ จากตัวเราเอง
- โครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการให้ความรู้ทางด้าน พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน”
- สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน ศึกษาดูงานด้านพลังงานทดแทน
- แถลงนโยบายโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว
- สาขาวิชาชีววิทยา จัดกิจกรรมปฏิบัติการเรียนรู้วิชาการชีววิทยาทางทะเล
- ประชุมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
- โครงการวิจัยบูรณาการเครือข่ายชุมชนเพื่อท้องถิ่นน่าอยู่อย่างยั่งยืน
- โครงการ “การพัฒนาเส้นทางเดินลอยฟ้าเหนือป่า(Canopy Walkway) ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ไอเดียบรรเจิด ใช้โดรนพ่น"ฉี่เสือโคร่ง"ไล่ช้างไม่ให้เดินบนถนน
- ก้าวเพื่อความดี ด้วยศาสตร์พระราชา คืนผืนป่าให้ช้างครั้งที่ 2
- ”ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 5”“การขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน”
- ปลูกข้าวอินทรีย์ตามวิถีพอเพียง
- โครงการ “ปันน้ำใจ ให้ช้างป่า”
- โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
- เตรียมจัดกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ
- จิตอาสาเพื่อชุมชนแห่งการดูแลและเอื้ออาทร ณ พื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดเพชรบุรี
- นวัตกรรมโดรนไล่ช้าง
- สัมภาษณ์ในรายการสารคดีเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 ในเรื่องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนไร่มะขาม
- นักศึกษาชมรมเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาสร้างฝายชะลอน้ำให้กับชุมชน
- ประชุมเครือข่ายโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
- กะลังตังช้าง พืชไล่ช้าง
- โครงการ “รวมใจรักษ์หาด คืนธรรมชาติสู่ท้องทะเลไทย ประจำปี 2561
- ปรับปรุงภูมิทัศน์มหาวิทยาลัย
- ร่วมประชุมยุทธศาสตร์ราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
- จัดทำแผนแก้ไขปัญหาขยะ
- คณะวิทยาการจัดการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวและอาหารปลอดภัย
- ทำความสะอาดบึงบัวหลวงราชินี
- ห้องสมุดสีเขียว
- มรภ.เพชรบุรีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มรภ.เพชรบุรี
- มรภ.เพชรบุรี ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริการวิชาการแก่ชุมชนในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี รับการตรวจประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการกองประเมินและรับรองคุณภาพสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- กิจกรรมเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว