สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จัดวิพากษ์หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
จัดวิพากษ์หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุม ชั้น 7 อาคารวิทยาภิรมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กล่าวเปิดกิจกรรมและมอบนโยบายแก่ผู้เข้าร่วมประชุมวิพากษ์หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Life Long Learning) โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณี คอนจอหอ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารี น้อยสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม นายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร ประธานอนุกรรมการดำเนินงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรม

คณะทำงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นได้นำเสนอหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Life Long Learning) จำนวน 13 หลักสูตร ประกอบด้วย

1. “พริกพราน” พืชมหัศจรรย์ สร้างสรรค์รายได้

2. การทำนาน้ำน้อยด้วยนวัตกรรม IOT

3. นวัตกรรมพลังงานทดแทนเพื่อการเกษตร

4. นักพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

5. การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากโกโก้ครบวงจร

6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไผ่เพื่อความยั่งยืน

7. ผู้สูงอายุสุขภาพดี วิถีพริบพรี

8. นักสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรปั้นแบรนด์จากธรรมชาติ

9. การขยายพันธุ์พืชเพื่อสร้างรายได้

10. Smart feed เทคนิคการผลิตอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องยุคใหม่

11. STAR Explorer : การดูดาวเพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

12. การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการ

13. การปลูกและแปรรูปกระบองเพชรกินได้

รองศาสตราจารย์ ดร.กรัณย์พล วิวรรธมงคล ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และคณะวิทยากร ได้วิพากษ์หลักสูตรดังกล่าวข้างต้นและให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ เพื่อให้การจัดทำหลักสูตรฯ เป็นไปตามนโยบายสภามหาวิทยาลัยฯ และตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยฯ ปี 2568 จากการขยายผลความสำเร็จจากโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ มีจำนวนหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ที่มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้นสามารถจัดเก็บเป็นระบบคลังเครดิต 13 หลักสูตร จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ หลักสูตรเพื่อการบริการวิชาการชุมชนท้องถิ่น และหลักสูตรประจำศูนย์การเรียนรู้ด้านเกษตร ทั้งศูนย์เรียนรู้วิทยาเขตโป่งสลอดและศูนย์เรียนรู้เกษตรภายในมหาวิทยาลัย