มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีร่วมกับสำนักการเกษตรต่างประเทศจัด“เสวนาอัตลักษณ์เกลือทะเลไทย” พร้อมลงพื้นที่ศึกษาระบบตลาดของเกลือทะเลไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เสวนาอัตลักษณ์เกลือทะเลไทย” ที่ศูนย์ความเป็นเลิศเกลือทะเล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีร่วมกับสำนักการเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 10 -11 กันยายน 2563 ณ ห้องมาลัยทอง โรงแรมไอธารา รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัด โดยมี ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ ศิริธนาวงศ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนกลุ่มสหกรณ์ ผู้แทนวิสาหกิจชุมชน และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม
สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 เห็นชอบให้ศึกษาความเป็นได้ของพื้นที่ผลิตเกลือทะเลไทย โดยใช้หลักเกณฑ์ของระบบพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก (Global Important Agricultural Heritage System : GIAHS) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) ซึ่งก่อนหน้านี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่ผลิตเกลือทะเลไทยในจังหวัด สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี พบว่า GIAHS เป็นเรื่องใหม่ทั้งในหน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัยและกลุ่มเกษตรกร ทำให้ยังไม่สามารถทราบได้ว่าจะเป็นประโยชน์หรือมีผลกระทบอย่างไรต่อชุมชน เกษตรกรและการผลิตเกลือทะเล ข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวพันกับอัตลักษณ์และความเป็นมาของเกลือในพื้นที่ยังกระจัดกระจายและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายองค์กรและการขาดความเชื่อมโยงของภูมิปัญญาการเกษตรและวัฒนธรรมที่มีต่อการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในการทำเกษตรกรรม
การประชุมในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหาของระบบพื้นที่ทำการเกษตรที่มีการผลิตเกลือและรวบรวมองค์ความรู้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเกลือทะเลไทย รวมถึงการประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจแนวทางการจัดทำข้อเสนอระบบพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลกตามหลักเกณฑ์ของ FAO โดยมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “Globally Important Agricultural Heritage Systems (GIAHS)” ระบบพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก (GIAHS) การเสวนาวิชาการเรื่อง ระบบภูมิปัญญาท้องถิ่นทางการเกษตร ระบบภูมิปัญญาเกลือทะเลไทย และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการยกระดับเกลือทะเล
นอกจากนี้ยังได้มีการลงพื้นที่โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ชมการเพาะเลี้ยงพัธุ์สัตว์น้ำ การพาเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น ลงเรือชมระบบระบบนิเวศหอยแครงพันธุ์ไทย หอยเสียบ วิถีชาวเล แปรรูปอาหารทะเล ประมงชายฝั่ง และรวมกันปลูกต้นโกงกาง เพื่อเพิ่มที่สีเขียวให้กับระบบนิเวศ
# รายงานโดย กลุ่มงานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี