ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น 8 ตุลาคม 20239 ตุลาคม 2023Thitiporn Karaketข่าวสื่อสารองค์กร จำนวนผู้ชม : 116 การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความเข้าใจและประเมินผลกระทบโครงการยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความเข้าใจและประเมินผลกระทบโครงการยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น พร้อมมอบนโยบายการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีสู่การพัฒนาท้องถิ่น ที่สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 8 ตุลาคม 2566 ณ โรงแรมเมธาวลัย ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาจารย์ปองพล รักการงาน รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ว่า “เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจในการดำเนินการด้านการพัฒนาท้องถิ่น การจัดทำโครงการให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย รวมถึงการจัดเก็บผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบจากการดำเนินงาน และพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ การพัฒนาท้องถิ่นให้สอดคล้องกับแผนงานพื้นฐาน และพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ” โดยในปี 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้ดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ตามพันธกิจด้านการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จากการร่วมกันทบทวน วางแผนและปรับปรุงเป้าหมาย ตัวชี้วัดผลผลิต/โครงการ ให้ตรงกับแผนงานพื้นฐานและพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏได้กำหนดโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 8 โครงการ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน โครงการชุมชนดิจิตอล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษที่ 21 โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก โครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม โครงการพัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษเพื่อการยกระดับชุมชนสู่สากล โครงการพัฒนานวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐานและโครงการตามบริบท ขณะที่เป้าหมายหลักในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพขรบุรี ปี 2567 ได้แก่ ชุมชนเป้าหมายคุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกมิติ ยกระดับชุมชนต้นแบบสู่ศูนย์เรียนรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาที่ยั่งยืน ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ สร้างนวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิศวกรสังคมเพื่อพัฒนาสู่สังคมดิจิทัล และการบูรณาการวิจัยกับการพัฒนาท้องถิ่นสู่การขอผลงานทางวิชาการ โอกาสนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์ ดร.เอกราช ดีนาง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และคุณกาญจนา มูลอาจ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มาเป็นวิทยากรในการแลกเปลี่ยนการดำเนินงาน# กลุ่มงานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine