ต้อนรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 3 กิจกรรมมอบต้นกล้ามะละกอทนโรคพันธุ์ปลักไม้ลายและทุนการศึกษา

ต้อนรับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 3
กิจกรรมมอบต้นกล้ามะละกอทนโรคพันธุ์ปลักไม้ลายและทุนการศึกษา

      วันที่ 30 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 2 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 3 นำโดยนายสุริยศักดิ์ ภิธิปฐิติพงศ์ ประธานรุ่น วกส.3 ร่วมให้การต้อนรับนายภคพัส ส่งวัฒนายุทธ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี และที่ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบต้นกล้ามะละกอทนโรคพันธุ์ปลักไม้ลายและทุนการศึกษา

     พิธีมอบต้นกล้ามะละกอทนโรคพันธุ์ปลักไม้ลายและทุนการศึกษา สืบเนื่องจากเข้ารับกสรอบรมหลักสูตรวกส.3 ได้จัดกิจกรรม CSR เพื่อช่วยเหลือชุมชน โดยปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเพื่อต่อยอดงานวิจัยของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เรื่อมะละกอทนโรค และในปีนี้ได้สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อต่อยอดผลงานวิจัย เรื่อง “การใช้ต้นกล้ามะละกอพันธุ์ปลักไม้ลายทนโรคเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกร” สวก. ส่งเสริมพันธุ์มะละกอทนโรคเพื่อการวิจัยและเพาะพันธุ์ โดยมีว่าที่ร้อยตรี ดร.บุญชาติ คติวัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร เป็นผู้วิจัย

     ภายในงานประกอบด้วย การมอบต้นกล้ามะละกอทนโรคพันธุ์ปลักไม้ลาย ให้แก่หน่วยงานภาคการเกษตรและผู้แทนกลุ่มเกษตรกร 5 กลุ่ม ประกอบด้วย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานเกษตรอำเภอท่ายาง เพื่อนำไปปลูกในแปลงสาธิตและส่งมอบสู่เกษตรที่สนใจ ตลอดจนผู้แทนเกษตรกรจากบ้านไร่มะขาม บ้านหนองกระเจ็ด อำเภอบ้านลาด และบ้านแม่ประจันต์ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี นอกจากนี้ยังได้มอบทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ที่มีผลการเรียนดี มีความประพฤติดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จำนวน 18 ทุน ๆ ละ 12,000 บาท

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กล่าวว่า “กิจกรรมในวันนี้เป็นก้าวที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร และเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดในภูมิภาคตะวันตก ซึ่งจะนำมาสู่ความมั่นคงให้กับภาคการเกษตรของประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีจะมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า ภายในปี 2570 เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านอาหาร การท่องเที่ยว และวิทยาการสุขภาพ ภายใต้ความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ด้วยการบูรณาการศาสตร์ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน”

#ราชภัฏเพชรบุรีกับการพัฒนาระบบการบริหารองค์กรที่มีประสิทธิภาพ
#100ปีราชภัฏเพชรบุรี

 

#คณะเทคโนโลยีการเกษตร