องค์ความรู้และนวัตกรรมต่อชุมชน
- โครงการวิจัย
- ผลงานสร้างสรรค์/สิ่งประดิษฐ์
- ผลงานสร้างมูลค่าเพิ่มต่อชุมชน
โครงการวิจัยที่เกิดองค์ความรู้และนวัตกรรมต่อชุมชน
ผลงานสร้างสรรค์/สิ่งประดิษฐ์
โครงการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างคุณค่าทางวิชาการหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนหรือภาคเอกชนทั้ง 2 ระดับที่แตกต่างกัน จำนวน 66 นวัตกรรม ประกอบด้วย
- คณะครุศาสตร์ จำนวน 4 นวัตกรรม
- คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ จำนวน 8 นวัตกรรม
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 13 นวัตกรรม
- คณะวิทยาการจัดการ 8 นวัตกรรม
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 นวัตกรรม
- คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 17 นวัตกรรม
- คณะเทคโนโลยีการเกษตร 5 นวัตกรรม
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 8 นวัตกรรม
1. นวัตกรรมต้นแบบเครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยแสง UV-C แบบกล่องขนาดเล็ก
สร้างขึ้นโดยใช้ให้แสง UV-C โดยใช้ความยาวคลื่นที่ 254 นาโนเมตร ความเข้มแสง 4016 W/cm2 สามารถกำจัดเชื้อโรคได้หมดภายใน 5 นาที ผลลัพธ์ที่ได้คือ รังสี UV-C สามารถใช้ในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ราเส้นใย และยีสต์ ที่ปะปนมากับสิ่งของและอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลในเขตจังหวัดเพชบุรีจำนวน 9 โรงพยาบาล และเขตจังหวัดประขวบคีรีขันธ์ จำนวน 9 โรงพยาบาล
2. นวัตกรรมต้นแบบตู้สแกนตรวจคัดกรองอุณหภูมิแบบเดินผ่าน
นวัตกรรมตู้ต้นแบบตู้แสกนตรวจคัดกรองอุณฟภูมิแบบเดินผ่านนี้มีคุณสมบัติในการเฝ้าระวังและคัดกรองบุคคลหรือผู้ป่วยที่มีไข้สูงอาศัยหลักการทำงานของรังสีอินฟาเรด หรือคลื่นรังสีความร้อน ที่สามารถสแกนอุณหภูมิร่างกายของมนุษย์ในช่วง 30-50 องศาเซลเซียส
มาตราฐานที่เกี่ยวข้อง
- มาตรฐาน RoHS มาตรฐานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- มาตรฐาน EN13480
- มาตรฐาน HACCP
3. นวัตกรรมต้นแบบตู้ความดันลบสาหรับคัดกรองผู้ป่วย
มีคุณสมบัติช่วยควบคุมเชื้อโรคในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์กำลังเก็บตัวอย่างเชื้อในช่องปาก (swab) ของผู้ป่วย ตู้จะทำหน้าที่ป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคให้อยู่แต่เฉพาะในตู้ ซึ่งภายในตู้จะมีเครื่องดูดอากาศผ่าน HEPA Filter
มาตราฐานที่เกี่ยวข้อง
- มาตรฐานแผ่นกรองอากาศฆ่าเชื้อโรค HEPA Filter สามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กเท่าไวรัสได้ 99.995%
- มาตรฐานหลอดให้แสง UV-C ที่มีความยาวคลื่น 100 – 280 นาโนเมตร มีประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรคได้
4. นวัตกรรมต้นแบบหุ่นยนต์สู้ โควิด-19“น้องปฐมพยาบาล”
5. นวัตกรรมต้นแบบเครื่องฟอกอากาศและฆ่าเชื้อไวรัส
มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอากาศพร้อมฟอกอากาศเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อทางอากาศจากห้องความดันลบหรือห้องที่มีความเสี่ยงสูง โดยอาศัยหลักการดูดอากาศจากห้องความดันลบหรือห้องที่มีความเสี่ยงผ่านแผ่นกรองเพื่อดักจับฝุ่นและเชื้อไวรัสโควิดจากนั้นไวรัสโควิดจะถูกฆ่าด้วยรังสียูวีก่อนที่อากาศจะถูกปล่อยสู่บรรยากาศ
มาตราฐานที่เกี่ยวข้อง
- มาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องฟอกอากาศ (มอก.1516-2549) ด้านความปลอดภัย
- มาตรฐานหลอดให้แสง UV-C ที่มีความยาวคลื่น 100 – 280 นาโนเมตร มีประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรคได้
6. ระบบทำน้ำยาฆ่าเชื้อโรคด้วยกรดไฮโปคลอรัสเข้มข้นจากน้ำเกลือด้วยกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส
เป็นการแยกสลายเกลือที่ละลายอยู่ในน้ำด้วยไฟฟ้าให้กลายเป็นสารฆ่าเชื้อโรคได้อย่าง “เกลือโซเดียมของกรดไฮโปคลอรัส” ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และรา สารชนิดนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์รวมถึงผิวที่บอบบาง
มาตราฐานที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ความเข้มข้นของคลอรีน 100 ppm ระยะเวลาในการสัมผัส 10 นาที ในการฆ่าเชื้อไวรัส ความเข้มข้นของคลอรีนอิสระ 300-500 ppm ระยะเวลาในการสัมผัส 10 นาที เครื่องที่สามารถผลิต ปริมาณ คลอรีนอิสระประมาณ 200-350 ppm ในระยะเวลา 30 นาที
7. นวัตกรรมต้นแบบอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 ชนิดครอบหัวพร้อมระบบฆ่าเชื้อด้วย UVC
นวัตกรรมนี้เป็นอุปกรณ์ในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจากการหายใจหรือการฟุ้งกระจายของสารคัดหลั่ง โดยมีคุณลักษณะพิเศษ คือ เป็นอุปกรณ์ครอบศีรษะของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยสามารถใช้งานได้สะดวก ไม่ส่งผลต่อการนอนหรือการเคลื่อนไหวของศีรษะ
มาตราฐานที่เกี่ยวข้อง
- มาตรฐานด้านความปลอดภัยของ OSHA เรื่องกำหนดการสัมผัสก๊าซในพื้นที่อับอากาศ
- มาตรฐานหลอดให้แสง UV-C ที่มีความยาวคลื่น 100 – 280 นาโนเมตร มีประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรคได้
ผลงานสร้างมูลค่าเพิ่มต่อชุมชน
ผลิตภัณฑ์หรือองค์ความรู้ที่มีส่วนร่วมกับชุมชน ที่สร้างคุณค่าทางวิชาการหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนหรือภาคเอกชน ทั้ง 2 ระดับที่แตกต่างกัน มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 123 ผลิตภัณฑ์หรือองค์ความรู้ ประกอบด้วย 105 ผลิตภัณฑ์ และ 18 องค์ความรู้ โดยมีความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
โครงการวิจัยประเภททุนภายใน ประจำปีงบประมาณ 2561-2563 | |||
ปีงบประมาณ | นวัตกรรม | ผลิตภัณฑ์ | ผลงานที่ได้รับรางวัล |
ทุนวิจัยปี 2561 | การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี กรณีศึกษาอำเภอบ้านลาด (บ้านลาดโมเดล) | การพัฒนาต้นแบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนจากมะพร้าวในเขตอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | – |
การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบบูรณาการด้านการท่องเที่ยวชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบุรี | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าในเส้นทางสายไหมทางทะเล | – | |
การวิจัยและพัฒนาเตาก๊าซชีวมวลประสิทธิภาพสูงแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่กลุ่มแปรรูปน้ำตาลโตนดของจังหวัดเพชรบุรี | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมอาลัวสมุนไพรตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ | – | |
การสร้างสรรค์สมุดภาพและคำศัพท์เฉพาะเพื่อส่งเสริมด้านอาหารและการท่องเที่ยวในอำเภอเมืองเพชรบุรี | การส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวเพชรบุรี : ออกแบบลวดลายผ้าทอชาวไทยทรงดำ ชุมชนหนองปรง ต.หนองปรง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี | – | |
การผลิตสื่อสารคดี ฉบับภาษาจีนเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมปังหวานจากแป้งข้าวไรเบอร์รี่ร่วมกับกลุ่มมุสลิมเบเกอรี่ ตำบลท่าแร้ง จังหวัดเพชรบุรี | – | |
ทุนวิจัยปี 2562 | รูปแบบการบริหารต้นทุนกลุ่มแปรรูปน้ำตาลโตนดของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบุรี | การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารว่างจากข้าวโพดเสริมกาบ้า | – |
วิจัยเรื่องต้นแบบแอปพลิเคชั่นเส้นทางท่องเที่ยวตาลโตนด ต.บ้านทาน อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี | – | ||
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เอนกประสงค์ | – | ||
จักรยานไฟฟ้าขายอาหารร่วมกับระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก | – | ||
ทุนวิจัยปี 2563 | กระบวนการต้นแบบการผลิตเม็ดพลาสติกจากขยะพลาสติกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เชิงพาณิชย์ | การเพิ่มมูลค่าเนื้อหอยจากเศษเหลือทิ้งทางการประมงสู่การผลิตอาหารเลี้ยงปูม้า | – |
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมงานช่างฝีมือดั้งเดิม : ช่างทองสกุลเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าว (ฟูริคาเกะ) เสริมสาหร่ายพวงองุ่น เพื่อสุขภาพ | – | |
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาตามแนวทางศาสตร์พระราชาเพื่อวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง | การพัฒนาผลิตภัณฑ์คาราเมลน้ำตาลโตนดบรรจุในรีทอร์ทเพาช์ | – | |
การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนคนไทยพลัดถิ่นในสิงขร-ตะนาวศรีและมะริด | – | ||
การสร้างสรรค์ผลงานการแสดง ชุด เพชรบุรีเมืองช่างแห่งสยาม | – |
ผลิตภัณฑ์หรือองค์ความรู้ที่มีส่วนร่วมกับชุมชน