ด้านที่ 1 นโยบาย (Policy 10%)

scd policy pbru
1. นโยบายสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

        ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยาฐานะครู และดำเนินการให้เป็นไปตามภาระหน้าที่ตามมาตรา 8 

           อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563 จึงกำหนดนโยบายและแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2565 – 2569) สู่การเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” ดังนี้  

นโยบาย

เร่งรัดการขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีดำเนินการตามภารกิจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กฎหมายบัญญัติ สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโดยมุ่งเน้นในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการผลิตบัณฑิต

ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตบัณฑิตให้มีอัตลักษณ์และสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 มีสุขภาวะและคุณภาพตามมาตรฐานมหาวิทยาลัยและมาตรฐานวิชาชีพ โดยพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการ เพิ่มโอกาสทางการศึกษาทุกช่วงวัย ที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ และทันต่อการเปลี่ยนแปลง

2. ด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม

ส่งเสริม สนับสนุนและสร้างเครือข่าย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนักวิจัย สร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม โดยการบูรณาการศาสตร์ ให้ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมที่เปลี่ยนแปลง และเกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

3. ด้านการพัฒนาท้องถิ่น

ส่งเสริมและสนับสนุนการประสานเครือข่ายในการพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

4. ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและพัฒนาครู ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานและจรรยาบรรณในวิชาชีพครู สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการในทศวรรษหน้า

5. ด้านการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

ส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม และความเป็นไทย สร้างเครือข่ายและบูรณาการ การสร้างองค์ความรู้ แหล่งเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน สร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการเผยแพร่สู่สากล

6. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

7. ด้านการบริหารจัดการ

พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล และใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เหมาะสมกับสังคมวิถีใหม่ (New Normal) ยืดหยุ่น (Resilience) และพร้อมนำการเปลี่ยนแปลง

ดาวน์โหลดประกาศ
2. แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 20 ปี

          แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 11/2561 วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่บูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่ประยุกต์องค์ความรู้สู่นวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่น เน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคมให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาของชาติ ปรับปรุงวิธีการดำเนินงานให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยบูรณาการศาสตร์พระราชาในการสร้างความมั่นคงของมหาวิทยาลัยและสังคม ให้ปฏิบัติพันธกิจการเป็นมหาวิทยาลัย  กลุ่ม ข (2) ที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีและพัฒนาสังคม และร่วมกันดำเนินการอย่างสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และกำหนดแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัย ในด้านวิชาชีพครู การท่องเที่ยว อาหารและเทคโนโลยี`

ปรัชญา : “คุณธรรมนำความรู้ ค้ำชูสังคม “

วิสัยทัศน์ : “บูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่  ประยุกต์องค์ความรู้สู่นวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่น  ภายในปี 2579″

พันธกิจ :

  1.  ผลิตบัณฑิต ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย มีคุณภาพ มีทัศนคติที่ดี มีคุณธรรมนําความรู้ เป็นพลเมืองดีในสังคม มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยคํานึงถึงหลักกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม
  2. เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสม กับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
  3. วิจัยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม มุ่งเน้นการบูรณาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศอย่างแท้จริงเป็นรูปธรรม แก้ปัญหาเชิงพื้นที่
  4. น้อมนําแนวพระราชดําริเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและให้บริการวิชาการ โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และเผยแพร่สู่สากล
  5. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการร่วมสมัยตามหลักธรรมาภิบาลด้วยการน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประเด็นยุทธศาสตร์ :

  1.  การยกระดับคุณภาพบัณฑิต
  2. การผลิตและพัฒนาวิชาชีพครู
  3. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
  4. การพัฒนาท้องถิ่น
  5. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร
ศูนย์พัฒนาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ดาวน์โหลดประกาศ

ประเด็นยุทธศาสตร์

1. การสร้างความโดดเด่นด้านอาหาร และการท่องเที่ยว
2. การยกระดับคุณภาพบัณฑิต
3. การผลิตและพัฒนาวิชาชีพครู
4. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาท้องถิ่น
5. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร
3. แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564)

ปรัชญา

            “คุณธรรมนำความรู้ ค้ำชูสังคม”

วิสัยทัศน์

    “ภายในปี 2564 จะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านอาหาร การท่องเที่ยว และสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

พันธกิจ

    1. ผลิตบัณฑิต ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย มีคุณภาพ มีทัศนคติที่ดี มีคุณธรรมนำความรู้ เป็นพลเมืองดีในสังคม มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยคำนึงถึงหลักกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม
    2. เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสม กับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
    3. วิจัยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม มุ่งเน้นการบูรณาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศอย่างแท้จริงเป็นรูปธรรม แก้ปัญหาเชิงพื้นที่
    4. น้อมนำแนวพระราชดำริเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและให้บริการวิชาการ โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และเผยแพร่สู่สากล
    5. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการร่วมสมัยตามหลักธรรมาภิบาลด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Scroll to Top