นักวิจัย มรภ.เพชรบุรี นำนักวิจัย มรภ.ตะวันตก ล่องเรือสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนบ้านบางตะบูน พร้อมยกระดับสินค้าชุมชนสู่การค้าเชิงพาณิชย์
9 กุมภาพันธ์ 2022 ข่าวสื่อสารองค์กร
ตามที่เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย “แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ปีที่ 2” จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบประมาณทั้งสิ้น 20 ล้านบาท โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยเป็นผู้อำนวยการแผนงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ทั้งด้านมูลค่าและคุณค่าบนฐานอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ยกระดับช่องทางการสื่อสารการตลาดท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย เป็นการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และภาคีเครือข่ายเพื่อความยั่งยืน ตลอดจนพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (University Engagement) โดยเครือข่ายนักวิจัยและผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา จากแผนงานดังกล่าวมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าโหนดภูมิภาคตะวันตก ดำเนินงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวตามวิถีชุมชนกินดื่มอาหารปลอดภัยเชิงสร้างสรรค์ภูมิภาคตะวันตก” ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 อาจารย์คงขวัญ ศรีสอาด หัวหน้าทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้นำทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏในภูมิภาคตะวันตก พร้อมด้วยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นทีมกลาง และหัวหน้าแผนงาน พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาโครงการ ลงพื้นที่กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงานของโหนดภูมิภาคแผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ปีที่ 2 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาคีเครือข่าย ด้วยการล่องเรือเยี่ยมชมชุมชนบ้านบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เพื่อสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยว ตั้งแต่วัดเกาะแก้ว วัดคุ้งตำหนัก ศาลเจ้าแม่ทับทิม วัดปากลัด และสะพานเฉลิมพระเกียรติที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของผู้ที่รักและชื่นชอบในธรรมชาติ มีกระเตงที่เป็นบ้านพักลักษณะโฮมสเตย์ปลูกกลางทะเลท่ามกลางฟาร์มหอยสุดลูกหูลูกตา ชมทัศนียภาพความเป็นอยู่ริมสองฝั่งคลอง เตาเผาถ่านไม้โกงกางจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมานานกว่า 80 ปี ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยการสาธิตและทดลองฝึกปฏิบัติการทำอาหารพื้นบ้านที่มีวัตถุดิบหลักเป็นพืชในท้องถิ่น เช่น ผักชะคราม ใบขลู่ และอาหารทะเลสด ๆ จากเรือประมงพื้นบ้าน
ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สาธิตการทำขนมไทยจากลูกแสม และการไลฟ์สดตลาดออนไลน์ผ่าน Facebook Live เพจผลิตภัณฑ์ชุมชนคนราชภัฏ ซึ่งประกอบไปด้วยผลิตภัณฑ์ของทั้ง 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคตะวันตกที่ลงไปพัฒนาร่วมกับชุมชน ประกอบด้วย น้ำมะพร้าวและน้ำกุหลาบ ชุมชนสามพราน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม น้ำยำส้มโอโบราณ ชุมชนท่าเสา โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี น้ำปลาหวานและกล้วยอบอินทรีย์ ชุมชนปากท่อ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และหอยลายแปรรูปและสบู่ชาโคลที่ทำมาจากถ่าน ชุมชนบ้านบางตะบูน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
จากนั้นในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 1 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย โดยการบูรณาการ BCG Model ที่พัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และกิจกรรมถอดบทเรียนและสังเคราะห์โครงการวิจัย โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง ที่ปรึกษาแผนงานฯ ผศ.ดร.พัชริน ดำรงกิตติกุล ที่ปรึกษาแผนงานฯ เป็นผู้ให้คำแนะนำและให้ข้อเสนอแนะ
สำหรับชุดโครงการวิจัยในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคตะวันตก ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อต้องการส่งเสริมช่องทางการตลาดให้กับสินค้าและการพัฒนาชุมชน ตอบสนองความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เน้นเรื่องสุขภาพและประสบการณ์ที่มีคุณค่าจากการท่องเที่ยว โดยก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวคุณภาพ
#กลุ่มงานสื่อสารองค์กร มหาวิทยลัยราชภัฏเพชรบุรี
Popular Post
- นโยบายสิ่งเเวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย
- แนวทางการจัดประชุม และนิทรรศการในสำนักงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- กิจกรรม “รวมพลคนไปโป่ง” ปรับภูมิทัศน์เตรียมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงปฏิบัติ
- ฮ็อตไลน์ ไทยแลนด์ ททบ.5 ช่วง เปิดโลกเทคโนโลยี สกู๊ป พิเศษ "การใช้พลังงานแสงอาทิตยืเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม"
- นักศึกษาจากประเทศญี่ปุ่นร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านสิ่งแวดล้อม
- นักศึกษาจิตอาสา ลงพื้นที่สร้างแหล่งอาหารให้ช้างป่า
- มรภ.เพชรบุรีร่วมกับมณฑลทหารบกที่ 15 จัดกิจกรรมกตัญญูคลับ ปันน้ำใจสู่ชุมชน
- มรภ.เพชรบุรีร่วมกับภาคีเครือข่าย ปลูกผักแจกจ่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
- มรภ.เพชรบุรี.ให้ความสำคัญชุมชน จัดโครงการครึ่งไร่คลายวิกฤตฟื้นชีวิตหลัง Covid-19
- ผู้บริหาร บริษัท เดอะรีเจ้นท์ฯ แลกเปลี่ยนความรู้ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ฯ
- คณะพยาบาลศาสตร์ปลูกพืชสมุนไพร นำผลผลิตไปแปรรูปเป็นยาและเวชสำอาง
- มรภ.เพชรบุรี เลือกโรงเรียนบ้านหุบกะพงเป็นต้นแบบโครงการคลังการเรียนรู้ PBRU
- PBRU ปันสุข จะเป็นสะพานบุญให้กับประชาชนที่มีกำลังในการแบ่งปัน
- “มรภ.เพชรบุรี ปรับพื้นที่เป็นแหล่งสร้างอาหาร สร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับนักศึกษา
- ผู้ว่าเมืองเพชร เยี่ยมชม “สัตวศาสตร์ฟาร์ม” พร้อมเตรียมพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
- มรภ.เพชรบุรี ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ปี 2019
- อธิการบดี มรภ.เพชรบุรี เร่งรัดให้ปฏิบัติงานตามแผนการใช้พื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- บรรยายพิเศษ “เกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียง” โดยอาจารย์โจน จันได
- เกษตรกรเครือข่าย เข้าร่วมอบรมการใช้แอปพลิเคชั่น ThaiOrganicPlatform
- มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าศึกษาดูงาน “มหาวิทยาลัยสีเขียว”
- มรภ.เพชรบุรี นำเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์
- ถ่ายทอดสด เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ “จอน นอนไร่”
- มรภ.เพชรบุรี ร่วมใจ เลิกใช้ถุงพลาสติกพร้อมกันทั้งมหาวิทยาลัย
- สารคดีเทิดพระเกียรติ ชุด พลังราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่นตอนที่ 10 ขยะสร้างสามัคคี มรภ.เพชรบุรี
- งานสื่อสารองค์กรจับมือสโมสรนักศึกษา สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการลดใช้พลังงานและถุงพลาสติก
- 7-ELEVEN (เซเว่น อีเลฟเว่น) นำเสนอโครงการ Green University ร่วมกับมรภ.เพชรบุรี
- อธิการบดีมรภ.เพชรบุรี ให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ
- มิติใหม่ของการเปลี่ยนขยะ กับ“ขยะแลกเครดิต”
- มรภ.เพชรบุรี เข้ารับรางวัล "สถานศึกษาปลอดภัย” ดีเด่น ประจำปี 2562
- มรภ.เพชรบุรี สนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์พร้อมร่วมวางแผนดำเนินงาน
- ดูงานด้านกายภาพ Green & Clean University
- ททท.สำนักงานเพชรบุรี ส่งเสริมการท่องเที่ยววันธรรมดาให้น่าเที่ยว
- “การอนุรักษ์พรรณไม้ไทยด้วยเทคนิคการขยายพันธุ์พืชแบบควบแน่นอย่างง่าย”
- อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ จำนวน 45 คน ร่วมกิจกรรม “กล้วยไม้ไทยกลับคืนสู่ป่า”
- “ปั่นเพื่อแม่ไปแลบ้านลาด” กิจกรรมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
- ขอเชิญชวนชาวราชภัฏเพชรบุรีรวมพลัง แยกก่อนทิ้ง แยกขยะง่าย ๆ จากตัวเราเอง
- โครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพการให้ความรู้ทางด้าน พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน”
- สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน ศึกษาดูงานด้านพลังงานทดแทน
- แถลงนโยบายโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว
- สาขาวิชาชีววิทยา จัดกิจกรรมปฏิบัติการเรียนรู้วิชาการชีววิทยาทางทะเล
- ประชุมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
- โครงการวิจัยบูรณาการเครือข่ายชุมชนเพื่อท้องถิ่นน่าอยู่อย่างยั่งยืน
- โครงการ “การพัฒนาเส้นทางเดินลอยฟ้าเหนือป่า(Canopy Walkway) ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ไอเดียบรรเจิด ใช้โดรนพ่น"ฉี่เสือโคร่ง"ไล่ช้างไม่ให้เดินบนถนน
- ก้าวเพื่อความดี ด้วยศาสตร์พระราชา คืนผืนป่าให้ช้างครั้งที่ 2
- ”ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 5”“การขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน”
- ปลูกข้าวอินทรีย์ตามวิถีพอเพียง
- โครงการ “ปันน้ำใจ ให้ช้างป่า”
- โครงการวิจัยและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
- เตรียมจัดกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ
- จิตอาสาเพื่อชุมชนแห่งการดูแลและเอื้ออาทร ณ พื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดเพชรบุรี
- นวัตกรรมโดรนไล่ช้าง
- สัมภาษณ์ในรายการสารคดีเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 ในเรื่องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนไร่มะขาม
- นักศึกษาชมรมเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาสร้างฝายชะลอน้ำให้กับชุมชน
- ประชุมเครือข่ายโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
- กะลังตังช้าง พืชไล่ช้าง
- โครงการ “รวมใจรักษ์หาด คืนธรรมชาติสู่ท้องทะเลไทย ประจำปี 2561
- ปรับปรุงภูมิทัศน์มหาวิทยาลัย
- ร่วมประชุมยุทธศาสตร์ราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
- จัดทำแผนแก้ไขปัญหาขยะ
- คณะวิทยาการจัดการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวและอาหารปลอดภัย
- ทำความสะอาดบึงบัวหลวงราชินี
- ห้องสมุดสีเขียว
- มรภ.เพชรบุรีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มรภ.เพชรบุรี
- มรภ.เพชรบุรี ลงพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริการวิชาการแก่ชุมชนในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี รับการตรวจประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการกองประเมินและรับรองคุณภาพสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- กิจกรรมเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว